วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Simple Future EP.1

สวัสดีค่ะ ถึงเวลาของ Simple Future แล้ววววววววว
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ Tense นี้กันพอสมควร
เราจะใช้ Tense นี้พูดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งที่เรามั่นใจหรือไม่มั่นใจว่ามันจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม

การใช้ Simple Present สามารถใช้ได้ 2 แบบค่ะ คือใช้ will หรือ be going to ก็ได้
แต่ถ้าเอาจริง ๆ ทั้งสองคำนี้ก็มีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงของตัวมันเองอยู่
เดี๋ยวพลอยจะลงรายละเอียดของแต่ละตัวให้ดูกันนะคะ

♛ will (จะ)
Key Words :
1. Willingness (ความเต็มใจ)
2. Giving Promises (การให้สัญญา)
3. Prediction (การคาดการณ์)

♛ be going to (จะ)
Key Words :
1. Intention (ความตั้งใจ) คือ มีแผนไว้แล้วว่าจะทำ
2. Prediction (การคาดการณ์)

*ทั้งสองคำนี้ สามารถใช้พูดถึงการคาดการณ์ในอนาคตได้เหมือนกันค่ะ
เพราะฉะนั้น เราจะเลือกใช้คำไหนก็ได้

Time Words :
tomorrow, later, tonight, next time, in + เวลาในอนาคต, soon, in the future etc.

เมื่อเรารู้ Key Words ของแต่ละคำแล้ว เราก็ต้องมาฝึกแยกประโยคกัน
ว่าประโยคไหนควรใช้ will ประโยคไหนควรใช้ be going to
และประโยคไหนสามารถใช้ได้ทั้งสองคำนี้
มาเริ่มกันเลยค่ะ ................ เฉลยอยู่ข้างล่างนะคะ อย่าแอบดูก่อนน้าาาาาา

1. โทนี่ขยันเรียนมาก ๆ เขาจะต้องได้เกรดเฉลี่ยสูงแน่เลย
2. พวกเราตั้งใจที่จะทาสีรั้วใหม่ ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้
3. ฉันจะโทรหาคุณตอนถึงสนามบินนะ
4. พวกเขาจะช่วยเราล้างจานหลังกินมื้อค่ำเสร็จ
5. ทอมและเจสสิก้าชอบอะไรเหมือน ๆ กัน พวกเขาจะต้องเป็นแฟนที่เข้ากันได้ดีแน่เลย
6. กล่องนั้นมันดูหนักนะ เดี๋ยวฉันจะช่วยคุณยกเอง
7. โรสตั้งใจว่าจะซื้อผ้าพันคอเป็นของขวัญวันเกิดให้แม่ของเธอ
8. พรุ่งนี้ฉันจะไปส่งคุณที่สนามบินเอง
9. จอห์นตั้งใจจะไปเยี่ยมครอบครัวของเขา ในวันหยุดยาวที่จะถึงนี้
10. ฟ้าครึ้มมาก ฝนจะตกเร็ว ๆ นี้แน่เลย

★ ☆ ✰✩✫✬✭✮✯✰✱✲✳❃❂❁❀✿✾✽✼✻✺✹✸✷✪✣✤✥✦✧✡ ★

1. โทนี่ขยันเรียนมาก ๆ เขาจะต้องได้เกรดเฉลี่ยสูงแน่เลย 
ใช้ได้ทั้งสองคำ เพราะเป็นการคาดการณ์
2. พวกเราตั้งใจที่จะทาสีรั้วใหม่ ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้
ใช้ be going to เพราะมีการวางแผนว่าจะทำไว้ก่อนแล้ว
3. ฉันจะโทรหาคุณตอนถึงสนามบินนะ
ใช้ will เพราะเหมือนเป็นการให้สัญญา ว่าถึงแล้วจะโทรหานะ
4. พวกเขาจะช่วยเราล้างจานหลังกินมื้อค่ำเสร็จ
ใช้ will เพราะแสดงถึงความเต็มใจ
5. ทอมและเจสสิก้าชอบอะไรเหมือน ๆ กัน พวกเขาจะต้องเป็นแฟนที่เข้ากันได้ดีแน่เลย
 ใช้ได้ทั้งสองคำ เพราะเป็นการคาดการณ์
6. กล่องนั้นมันดูหนักนะ เดี๋ยวฉันจะช่วยคุณยกเอง
 ใช้ will เพราะแสดงถึงความเต็มใจ
7. โรสตั้งใจว่าจะซื้อผ้าพันคอเป็นของขวัญวันเกิดให้แม่ของเธอ
 ใช้ be going to เพราะมีการวางแผนว่าจะทำไว้ก่อนแล้ว
8. พรุ่งนี้ฉันจะไปส่งคุณที่สนามบินเอง
 ใช้ will เพราะแสดงถึงความเต็มใจ
9. จอห์นตั้งใจจะไปเยี่ยมครอบครัวของเขา ในวันหยุดยาวที่จะถึงนี้
 ใช้ be going to เพราะมีการวางแผนว่าจะทำไว้ก่อนแล้ว
10. ฟ้าครึ้มมาก ฝนจะตกเร็ว ๆ นี้แน่เลย
 ใช้ได้ทั้งสองคำ เพราะเป็นการคาดการณ์

เมื่อเราแยกการใช้งานของทั้งสองคำได้แล้ว 
เราก็ต้องมาศึกษาเรื่องโครงสร้างของประโยคกันต่อ
แต่ว่าวันนี้เนื้อหาก็เยอะแล้วเนอะ เอาไว้ว่ากันใน EP.2 ดีกว่าค่ะ 
งั้นไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้านะคะ รออ่านด้วยน้าาาาาาาาาาาา บ๊ายบาย 

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Present Perfect Progressive EP.3

สวัสดีค่ะ เดินทางมาถึง EP. สุดท้ายของ Present Perfect Progressive กันแล้วค่ะ
EP. นี้ก็ไม่มีอะไรมาก (ไม่ต้องอ่านยาว 555) แค่อยากจะกล่าวถึงเกล็ดการใช้ Tense นี้เพิ่มเติม
งั้นเรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ Go! ♡. \^o^/

บางครั้ง เราสามารถใช้ได้ทั้ง Present Perfect และ Present Perfect Progressive
กับคำกริยาบางคำ ที่เราต้องการบอกว่า เราทำกริยาตัวนั้นมานานเท่าไหร่แล้ว
โดยที่ความหมายของทั้ง 2 Tenses ไม่ได้แตกต่างกันเลย
ซึ่งกริยาที่ว่านี้ จะต้องเป็นกริยาที่เราทำเป็นปกติ เป็นกิจวัตร หรือเป็นนิสัยของเรา
เช่น live (อยู่อาศัย), work (ทำงาน), teach (สอน), study (เรียน), 
play tennis (เล่นเทนนิส), wear glasses (สวมแว่นตา), play chess (เล่นหมากรุก) etc.

 มาดูตัวอย่างประโยคกันค่ะ
I've live here for 10 years.
or I've been living here for 10 years.
(ฉันอาศัยอยู่ที่นี่มา 10 ปีแล้ว)

She's taught Spanish for many years.
or She's been teaching Spanish for many years.
(เธอสอนภาษาสเปนมาหลายปีแล้ว)

He's studied biology for 4 years.
or He's been studying biology for 4 years.
(เขาเรียนชีววิทยามา 4 ปีแล้ว)

Billy's worn glasses since he was 7 years old.
or Billy's been wearing glasses since he was 7 years old.
(บิลลี่สวมแว่นตาตั้งแต่เขาอายุ 7 ขวบ)

เลือกใช้ได้ตามถนัดเลยค่ะ แต่ก็อย่าลืมว่า กริยาที่เราใช้นั้นต้องเป็นไปตามกฎด้านบนนะคะ
วันนี้คิดว่าเนื้อหาที่นำมาฝาก คงไม่มากไม่น้อยจนเกินไปเนอะ
ไว้เรากลับมาเจอกันอีกครั้งในตอนหน้า กับ Tense ใหม่ที่รออยู่ดีกว่า
รอติดตามกันด้วยนะคะ จุ๊บบบบบบบบบบบบบบบ 

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Present Perfect Progressive EP.2

สวัสดีค่ะ ยังคงอยู่ในเรื่อง Present Perfect Progressive
ในตอนที่สอง จะพูดถึงโครงสร้างของ Tense นี้ค่ะ ซึ่งอยากให้ดูที่ชื่อ Tense กันนิดนึง
ในชื่อมีทั้ง Perfect ทั้ง Progressive เพราะฉะนั้น ในโครงสร้างต้องมีทั้ง V3 และ Ving ค่ะ

และเช่นเคย ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา เราต้องมาทำความรู้จักกับตัวย่อต่าง ๆ กันก่อน
- S. ย่อมาจาก Subject (ประธาน)
- Ving ย่อมาจาก Verb เติม -ing (กริยา)
* Ving มีชื่อว่า Present Participle
- Wh. คือ Question Word ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh
เช่น what, where, when, why, whose, whom, what time เป็นต้น

ต่อมา มาดูความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับคำกริยาช่วยกันค่ะ
- ประธาน He, She, It และเอกพจน์ (หนึ่งสิ่ง, อย่าง, ตัว) ใช้ has
- ประธาน I, You, We, They และพหูพจน์ใช้ have

เมื่อรู้ตัวย่อและความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยาแล้ว
เราก็มาเริ่มโครงสร้างของแต่ละประโยคกันเลยค่ะ

 ประโยคบอกเล่า (Affirmative)

S. + have/has + been + Ving

Examples :
I have been sitting at my desk since 9 o'clock.
- ฉัน (กำลัง) นั่งอยู่ที่โต๊ะของฉันมาตั้งแต่เก้าโมงแล้ว
They have been driving for 2 hours.
- พวกเขา (กำลัง) ขับรถมาเป็นเวลาสองชั่วโมงแล้ว
She has been waiting for the bus since 7 a.m.
- เธอ (กำลัง) รอรถประจำทางตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าแล้ว

 ประโยคปฏิเสธ (Negative)

S. + haven't/hasn't + been + Ving

Examples :
The teacher hasn't been teaching for 30 minutes.
- คุณครูไม่ได้ (กำลัง) สอน เป็นเวลา 30 นาที
Rose hasn't been taking her medicine for the past two days.
- โรสไม่ได้กินยาของเธอ ในช่วงสองวันที่ผ่านมา
I haven't been practicing English.
- ช่วงนี้ฉันไม่ได้ฝึกภาษาอังกฤษเลย

 ประโยคคำถาม Yes, No Question

Have/Has + S. + been + Ving?

Examples :
Have they been doing their work all morning? - Yes, they have. / No, they haven't.
- พวกเขา (กำลัง) ทำงานตลอดช่วงเช้าเลยใช่ไหม?
Has it been raining since last night? - Yes, it has. / No, it hasn't.
- ฝน (กำลัง) ตกตั้งแต่เมื่อคืนเลยใช่ไหม?
Have you been exercising lately? - Yes, I have. / No, I haven't.
- ช่วงนี้คุณได้ออกกำลังกายใช่ไหม?

 ประโยคคำถาม Information Question

Wh. + have/has + S. + been + Ving?

Examples :
What have you been reading all day? - I've reading a textbook.
- คุณ (กำลัง) อ่านอะไรทั้งวัน? / ฉันอ่านหนังสือเรียน
Who has Jack been talking to for 1 hour? - He's been talking to his friend.
- แจ็ค (กำลัง) คุยกับใครมาหนึ่งชั่วโมงแล้ว? / เขาคุยกับเพื่อนของเขา

ครบโครงสร้างของทุกประโยคแล้วนะคะ จะสังเกตเห็นเลยว่า
ทุกประโยคจะมี been + Ving ซึ่ง been ในที่นี้คือ V3 นั่นเองค่ะ
ก็เหมือนกับที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นว่า ชื่อของมันคือ Present Perfect Progressive
ต้องมี V3 และ Ving เสมอ และถ้าเราจำชื่อ Tense ได้ มันก็จะช่วยให้เราจำโครงสร้างได้ด้วย
เพราะฉะนั้น เราควรฝึกแต่งประโยค ด้วย Tense ต่าง ๆ อยู่บ่อย ๆ
จะได้จำทั้งชื่อ โครงสร้าง และการใช้งานได้อย่างแม่นยำ แล้วเราก็จะใช้ได้อย่างลื่นไหน
และเป็นธรรมชาติมากขึ้น .. สู้ ๆ ฝึกเยอะ ๆ เดี๋ยวก็เก่งค่ะ พลอยเอาใจช่วย 

ส่วนใน EP.3 นั้น พลอยจะพูดถึงเรื่องอะไร ก็ต้องคอยติดตามกันต่อไปนะคะ
วันนี้ไปแล้วค่า บ๊ายบายยยยยยยยยยยยยยยยยยย ★(◕‿◕❀)

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Present Perfect Progressive EP.1

สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบกันกับ Present Perfect Progressive
หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Present Perfect Continuous (ชื่อยาวมาก 555)

และตามธรรมเนียมแล้ว EP.1 เราก็ต้องพูดถึง Key words และ Times words กันก่อนค่ะ

 Key words :
1. Activity in progress (การกระทำที่ดำเนินต่อเนื่อง)
2. How long (นานแค่ไหน)
3. Lately (เมื่อเร็ว ๆ นี้)

 Time words :
since, for, recently, lately, all + ช่วงเวลา etc.

หลักการใช้งาน Tense นี้ ก็จะคล้าย ๆ กับ Present Progressive ค่ะ
คือใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่ที่พิเศษคือ มันสามารถบอกระยะเวลาได้
ว่ากำลังเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือกำลังเกิดขึ้นมานานแค่ไหนแล้ว
โดยจะมีคำบอกเวลาคือ since (ตั้งแต่) และ for (เป็นเวลา) อยู่ในประโยค
แต่ Present Progressive จะบอกระยะเวลาไม่ได้ บอกได้แค่ว่า กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ (now)

และถ้า Present Perfect Progressive ไม่มี since หรือ for บอกเวลา
ประโยคนั้นก็จะกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นหยก ๆ หรือเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ (lately)

ข้อควรระวังในการใช้ Present Perfect Progressive ก็คือ เราจะไม่ใช้ Non-Action Verbs
ใน Tense นี้ เพราะมันเป็นกริยาที่ไม่สามารถเติม -ing ได้
ถ้าจะใช้กริยาในกลุ่มนี้ ให้เปลี่ยนไปใช้ Present Perfect แทนค่ะ

* คิดว่าผู้อ่านน่าจะคุ้นกับ Non-Action Verbs อยู่บ้าง เพราะพลอยเคยเขียนไว้แล้ว
แต่สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน ลองหาดูตรงคลังบทความทางด้านขวามือนะคะ

เมื่อรู้ทั้ง Key Words และ Time Words แล้ว เราก็จะสามารถแยกประโยคได้
ว่าประโยคนั้นควรใช้ Present Perfect Progressive Tense หรือไม่ 
ลองวิเคราะห์กันดูกันนะคะ .. เฉลยอยู่ข้างล่างค่ะ (อย่าเพิ่งแอบดูน้าาาา)

1. ตอนนี้บอลกำลังฟังเพลง
2. พวกเรากำลังขับรถอยู่ และขับมาได้สองชั่วโมงแล้ว
3. เมื่อเร็ว ๆ นี้จอห์น(กำลัง)คิดหางานใหม่
4. เมื่อคืนนี้ตอนสามทุ่ม โซเฟียกำลังดูทีวีอยู่
5. ญาติของฉันกำลังพักอาศัยอยู่กับฉัน ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
6. ฉัน(กำลัง)นั่งอยู่ที่โต๊ะตัวนี้ มาครึ่งชั่วโมงแล้ว
7. ช่วงนี้ นักเรียน(กำลัง)เรียนหนัก เพราะสัปดาห์หน้าก็สอบแล้ว
8. ตอนนี้คุณครูกำลังยืนอยู่ในห้อง
9. เมื่อวานตอนบ่าย เด็ก ๆ กำลังนอนหลับอยู่
10. พวกเรากำลังรอรถประจำทางอยู่ รอมาตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าแล้ว

★ ☆ ✰✩✫✬✭✮✯✰✱✲✳❃❂❁❀✿✾✽✼✻✺✹✸✷✪✣✤✥✦✧✡ ★
 
1. ตอนนี้บอลกำลังฟังเพลง
✖ ... พูดถึงแค่ "ตอนนี้" ให้ใช้ Present Progressive
2. พวกเรากำลังขับรถอยู่ และขับมาได้สองชั่วโมงแล้ว
 ... กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และบอกระยะเวลาด้วย
3. เมื่อเร็ว ๆ นี้จอห์น(กำลัง)คิดหางานใหม่
 ... กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้
4. เมื่อคืนนี้ตอนสามทุ่ม โซเฟียกำลังดูทีวีอยู่
✖ ... กำลังเกิดขึ้นในอดีต ให้ใช้ Past Progressive
5. ญาติของฉันกำลังพักอาศัยอยู่กับฉัน ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
 ... กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และบอกระยะเวลาด้วย
6. ฉัน(กำลัง)นั่งอยู่ที่โต๊ะตัวนี้ มาครึ่งชั่วโมงแล้ว
 ... กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และบอกระยะเวลาด้วย
7. ช่วงนี้ นักเรียน(กำลัง)เรียนหนัก เพราะสัปดาห์หน้าก็สอบแล้ว
 ... กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือช่วงนี้
8. ตอนนี้คุณครูกำลังยืนอยู่ในห้อง
✖ ... พูดถึงแค่ "ตอนนี้" ให้ใช้ Present Progressive
9. เมื่อวานตอนบ่าย เด็ก ๆ กำลังนอนหลับอยู่
✖ ... กำลังเกิดขึ้นในอดีต ให้ใช้ Past Progressive
10. พวกเรากำลังรอรถประจำทางอยู่ รอมาตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าแล้ว
 ... กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และบอกระยะเวลาด้วย

เมื่อเรารู้หลักการใช้งานแล้ว ก็ต้องรู้เรื่องโครงสร้างของประโยคด้วย
ซึ่งไว้มาต่อกันใน EP.2 ดีกว่าเนอะ วันนี้ยาวแล้ว เดี๋ยวจะขี้เกียจอ่านกัน อิอิ
พลอยไปก่อนดีกว่า แล้วมาเจอกันใหม่ตอนหน้านะคะ รออ่านกันด้วยน้าาาาาาา 

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Present Perfect EP.3

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันในตอนที่สาม ตอนสุดท้ายของ Present Perfect
ตอนนี้จะกล่าวถึงเนื้อหาเรื่องการใช้ since, for, already, yet ค่ะ

อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้วว่า หนึ่งใน Key words ของ Tense นี้คือ ...
Unspecified Time (ไม่เจาะจงเวลา) แต่ถ้าต้องการพูดถึงเวลาใน Perfect ให้ใช้ since และ for

 since (ตั้งแต่) ใช้บอกจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น
I've had this phone since last year.
(ฉันมีโทรศัพท์เครื่องนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว)
She's been in a karate class since 2018.
(เธอเป็นนักเรียนอยู่ในชั้นเรียนคาราเต้ตั้งแต่ปี 2018)

นอกจากหลัง since จะตามด้วยคำบอกเวลาได้แล้ว ยังสามารถตามด้วย S. + V2 ได้อีกด้วย
โดยเรียกง่าย ๆ ว่า Since-clause ลองดูตัวอย่างกันค่ะ
We've been friends since we were young.
(เราเป็นเพื่อนกัน ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก ๆ)
Taka has met many people since he moved here.
(ทากาได้เจอผู้คนมากมาย ตั้งแต่เขาย้ายมาที่นี่)

 for (เป็นเวลา) ใช้บอกถึงระยะเวลาของเหตุการณ์นั้น ว่าเกิดขึ่นมานานเท่าใดแล้ว เช่น
They have wanted to travel abroad for many years.
(พวกเขาต้องการไปเที่ยวต่างประเทศมาหลายปีแล้ว)
It's been cold for two days. (มันหนาวมาสองวันแล้ว)

ส่วนคำว่า already และ yet จะไม่ใช้เน้นเวลา แต่บอกได้แค่ว่า ทำแล้ว หรือ ยังไม่ทำ
มีการใช้งานต่างกันดังนี้ค่ะ

 already (เรียบร้อยแล้ว) ใช้ในประโยคบอกเล่าและประโยคคำถาม
วางไว้ได้สองตำแหน่ง คือ หน้า V3 และท้ายประโยค เช่น
Sonya has already finished her homework. (ซอนย่าทำการบ้านเสร็จแล้ว)
I have taken a shower already. (ฉันอาบน้ำแล้ว)
Have they already prepared for the test? (พวกเขาเตรียมตัวสำหรับการสอบแล้วหรือยัง?)
Has she come already? (เธอมาแล้วหรือยัง?)

 yet (ยัง) ใช้ในประโยคปฏิเสธและประโยคคำถาม วางไว้ท้ายประโยค เช่น
You haven't sent me an e-mail yet. (คุณยังไม่ได้ส่งเมลให้ฉันเลย)
He hasn't picked up his kids at school yet. (เขายังไม่ได้ไปรับลูกที่โรงเรียนเลย)
Have you washed the car yet? (คุณล้างรถหรือยัง?)

ถ้าถามว่าจำเป็นต้องใช้ already และ yet ทุกครั้งเลยหรือไม่ คำตอบคือ "ไม่"
เราสามารถเขียนประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม
โดยไม่ใส่คำเหล่านี้เลยก็ได้ ส่วนความหมายก็ไม่เปลี่ยนไปเลยค่ะ เช่น
I've bought a new car. (ฉันซื้อรถใหม่แล้ว)
She hasn't changed her mind. (เธอยังไม่เปลี่ยนใจเลย)
Have you invited Ted to the party? (คุณชวนเท็ดมางานเลี้ยงแล้วหรือยัง?)

เนื้อหาทั้งหมดก็มีเท่านี้ค่ะ ไม่ยาวเกินไปเนอะ อิอิ
ไว้ครั้งหน้าเราจะมาขึ้น Tense ใหม่กัน ไว้รอติดตามนะคะว่าจะเป็น Tense อะไร
วันนี้ไปก่อนดีกว่า บ๊ายบายค่าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา (●*∩_∩*●)

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Present Perfect EP.2

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันต่อกับ Present Perfect EP.2
ในตอนที่สองนี้ จะมาลงรายละเอียดในเรื่องโครงสร้างของประโยคค่ะ

เช่นเคยค่ะ ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา เราต้องมาทำความรู้จักกับตัวย่อต่าง ๆ กันก่อน
- S. ย่อมาจาก Subject (ประธาน)
- V3 ย่อมาจาก Verb ช่องที่สาม (กริยา)
* V3 มีชื่อว่า Past Participle
- Wh. คือ Question Word ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh
เช่น what, where, when, why, whose, whom, what time เป็นต้น

ต่อมา มาดูความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับคำกริยาช่วยกันค่ะ
- ประธาน He, She, It และเอกพจน์ (หนึ่งสิ่ง, อย่าง, ตัว) ใช้ has
- ประธาน I, You, We, They และพหูพจน์ใช้ have

เมื่อรู้ตัวย่อและความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยาแล้ว
เราก็มาเริ่มโครงสร้างของแต่ละประโยคกันเลยค่ะ

 ประโยคบอกเล่า (Affirmative)

S. + have/has + V3

Examples :
I have been a singer for 10 years.
(ฉันเป็นนักร้องมา 10 ปีแล้ว)
She has had this car since 2009.
(เธอมีรถคันนี้ ตั้งแต่ปี 2009)
They have just finished the report.
(พวกเขาเพิ่งจะทำรายงานเสร็จ)

 ประโยคปฏิเสธ (Negative)

S. + haven't/hasn't + V3

Examples :
James hasn't washed the dishes yet.
(เจมส์ยังไม่ได้ล้างจานเลย)
We haven't handed in the assignments yet.
(พวกเรายังไม่ได้ส่งงานเลย)
I haven't drunk coffee since 8 a.m.
(ตั้งแต่แปดโมงเช้า ฉันยังไม่ได้ดื่มกาแฟเลย)

S. + have/has + never + V3
*ใช้โครงสร้างนี้ เมื่อต้องการกล่าวถึงประสบการณ์

Examples :
They have never gone skiing before.
(พวกเขาไม่เคยเล่นสกีมาก่อน)
Tim and Tam have never met your cousin.
(ทิมและแทมไม่เคยเจอลูกพี่ลูกน้องของคุณ)
Sasha has never eaten kimchi.
(ซาช่าไม่เคยกินกิมจิ)

 ประโยคคำถาม Yes, No Question

Have/Has + S. + V3?

Examples :
Has Scott called Rose already? - Yes, he has. / No, he hasn't.
(สก็อตโทรหาโรสหรือยัง?)
Have you packed your bag yet? - Yes, I have. / No, he haven't.
(คุณจัดกระเป๋าแล้วหรือยัง?)
Has she arrived yet? - Yes, she has. / No, she hasn't.
(เธอมาถึงหรือยัง?)

Have/Has + S. + ever + V3?
*ใช้โครงสร้างนี้ เมื่อต้องการกล่าวถึงประสบการณ์

Examples :
Have they ever flown to Paris? - Yes, they have. / No, they haven't.
(พวกเขาเคยบินไปปารีสไหม?)
Has Polly ever climbed Mt. Everest? - Yes, she has. / No, she hasn't.
(พอลลี่เคยปีนเขาเอเวอร์เรสต์ไหม?)
Has Sam ever gone sailing? - Yes, he has. / No, he hasn't.
(แซมเคยล่องเรือใบไหม?)

 ประโยคคำถาม Information Question

Wh./How long + have/has + S. + V3?

Examples :
How long has she been here? - She has been here since last week.
(เธออยู่นี่นานแค่ไหนแล้ว?) - (เธออยู่นี่ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว) *ตอนนี้ก็ยังอยู่
What have you eaten so far? - I've eaten yogurt and cereal.
(จนถึงตอนนี้ คุณกินอะไรมาบ้างแล้ว?) - (ฉันกินโยเกิร์ตกับซีเรียลแล้ว)

นี่แหละค่ะโครงสร้างของ Present Perfect
ถ้าได้ยินคำว่า Perfect เมื่อไหร่ ให้คิดถึง V3 เมื่อนั้นเลยค่ะ
และโครงสร้างประโยคปฏิเสธ กับ ประโยคคำถาม Yes, No Question ของ Tense นี้
จะมี 2 แบบนะคะ และเวลานำไปใช้ ก็อย่าลืมดูด้วยว่าเราต้องการใช้ในความหมายเชิงไหน

วันนี้เนื้อหาก็ยาวพอสมควรแล้ว ไว้เรามาเจอกันใหม่ใน EP.3
เนื้อหาในตอนที่สาม จะเป็นเรื่องการใช้ already, yet, since และ for ค่ะ
ไว้คอยติดตามกันนะคะ วันนี้ไปแล้ว บ๊ายบายยยย ╮( ̄▽ ̄)╭♡

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Present Perfect EP.1

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาขึ้นเรื่อง Present Perfect Tense กันดีกว่า
พอได้ยินชื่อ Perfect หลาย ๆ คนอาจถึงกับส่ายหัว เพราะมันชวนงงเหลือเกิน
เนื่องจาก Tense นี้ไม่ได้พูดถึงแค่ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง
แต่มันพูดถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินต่อเนื่องกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และยังยาวต่อเนื่องไปจนถึงอนาคตอีก .. เนี่ยยยย แค่ฟังก็งงแล้ว
แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะพลอยก็เคยผ่านจุดนี้มาแล้ว 5555

วันนี้ก็เลยนำ Key Words และ Time Words ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการแยก Tense มาฝากค่ะ
➽ Key Words :
1. ever-just-yet-already (เพิ่งจะ-เคย-ยัง-แล้ว)
2. Unspecified Time (ไม่เจาะจงเวลา)
3. Repeated Actions (เกิดขึ้นซ้ำ ๆ )
4. Experiences (ประสบการณ์)
5. Changes (การเปลี่ยนแปลง)
6. New Information (ข้อมูลใหม่)
ถ้าประโยคที่เราต้องการจะสื่อ เข้าข่ายหนึ่งในหกข้อข้างบน ให้ใช้ Tense นี้ได้เลยค่ะ

➽ Time Words :
since (ตั้งแต่), for (เป็นเวลา), so far (จนถึงตอนนี้),
many times, several times, dozen times (หลายครั้ง),
once (ครั้งหนึ่ง), twice (สองครั้ง), never (ไม่เคย), recently/lately (เมื่อเร็ว ๆ นี้) etc.

เมื่อรู้ทั้ง Key Words และ Time Words แล้ว เราก็จะสามารถแยกประโยคได้ง่ายขึ้น
คราวนี้ลองวิเคราะห์กันดูกันนะคะ ว่าประโยคไหนควรหรือไม่ควรใช้ Present Perfect 
เฉลยอยู่ข้างล่างค่ะ (อย่าเพิ่งแอบดูน้าาาา)

1. นอร่าเคยไปญี่ปุ่นสองครั้งแล้ว
2. ฉันเจอณเดชน์ที่โรงหนังเมื่อคืนนี้
3. เจนนี่อ่านหนังสือเล่มนี้หลายรอบแล้ว
4. เมื่อเร็ว ๆ นี้ โทนี่เพิ่งได้งานใหม่
5. พวกเราชอบกินของหวานที่ร้าน Sweet Cafe
6. แพตตี้ได้เลื่อนตำแหน่ง เมื่อสองเดือนก่อน
7. โทมัสเป็นครูสอนภาษาอังกฤษมา 8 ปีแล้ว
8. พวกเขาไม่เคยเล่นสกีมาก่อน
9. เขาพักที่โรงแรมนี้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
10. เมื่อปีก่อน เด็ก ๆ ไปเยี่ยมคุณตาคุณยายที่ต่างจังหวัด

 ★ ☆ ✰✩✫✬✭✮✯✰✱✲✳❃❂❁❀✿✾✽✼✻✺✹✸✷✪✣✤✥✦✧✡ ★

1. นอร่าเคยไปญี่ปุ่นสองครั้งแล้ว
 ... พูดถึงประสบการณ์ และมีการเกิดขึ้นซ้ำ
2. ฉันเจอณเดชน์ที่โรงหนังเมื่อคืนนี้
✖ ... เน้นเวลา คืออ เมื่อคืนนี้ แสดงว่าเกิดแล้วจบแล้ว ต้องใช้ Simple Past
3. เจนนี่อ่านหนังสือเล่มนี้หลายรอบแล้ว
 ... เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ดูจากคำว่า "หลายรอบ" (many times)
4. เมื่อเร็ว ๆ นี้ โทนี่เพิ่งได้งานใหม่
 ... ไม่เจาะจงเวลา สังเกตจาก "เมื่อเร็ว ๆ นี้" (recently)
5. พวกเราชอบกินของหวานที่ร้าน Sweet Cafe
✖ ... พูดถึงเรื่องจริง เรื่องทั่วไป ต้องใช้ Simple Present 
6. แพตตี้ได้เลื่อนตำแหน่ง เมื่อสองเดือนก่อน
✖ ... เจาะจงเวลาคือเมื่อสองเดือนก่อน ต้องใช้ Simple Past
7. โทมัสเป็นครูสอนภาษาอังกฤษมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว
 ... เหตุการณ์เกิดตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และยังไม่จบ ดูจากคำว่า "เป็นเวลา" (for) 
8. พวกเขาไม่เคยเล่นสกีมาก่อน
 ... เป็นประสบการณ์ ดูจากคำว่า "ไม่เคย" (never)
9. เขาพักที่โรงแรมนี้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
 ... เหตุการณ์เกิดตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และยังไม่จบ ดูจากคำว่า "ตั้งแต่" (since)
10. เมื่อปีก่อน เด็ก ๆ ไปเยี่ยมคุณตาคุณยายที่ต่างจังหวัด
✖ ... เจาะจงเวลาคือเมื่อปีก่อน เกิดแล้วจบแล้ว ต้องใช้ Simple Past

เมื่อเราวิเคราะห์ประโยคได้แล้ว เราก็ต้องมาศึกษาเรื่องโครงสร้างของประโยคกันต่อไป
แต่วันนี้เนื้อหาก็เยอะพอสมควรแล้ว ไว้เราค่อยมาต่อใน EP.2 กันดีกว่าค่ะ
วันนี้ไปแล้วค่ะ เจอกันใหม่ครั้งหน้านะคะ บ๊ายบายยยยยยยยยยย ♡. (^_^) ♡.

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Past Progressive EP.3

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันใน EP.3 ซึ่งเป็น EP. สุดท้ายของ Tense นี้แล้วนะคะ
EP. นี้จะขอกล่าวถึงการใช้ Past Progressive กับเหตุการณ์ที่ถูกขัดจังหวะในอดีต
แต่จะใช้เพียง Past Progressive Tense เดียวไม่ได้ ต้องใช้คู่กับ Simple Past Tense ด้วยค่ะ
* สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้อ่านเรื่อง Simple Past
สามารถหาอ่านได้จากคลังบทความที่อยู่ด้านขวามือได้เลยค่ะ

 มาเข้าเรื่องกันเล้ยยยยย .. ก่อนอื่นต้องจำสูตรให้ได้ก่อนค่ะ
1. เหตุการณ์ที่เกิดก่อนและถูกขัดจังหวะ ใช้ Past Progressive (Ving)
2. เหตุการณ์ที่เกิดทีหลังและมาขัดจังหวะ ใช้ Simple Past (V2)
3. มีคำเชื่อม คือ when (เมื่อ, ตอนที่) และ while (ในขณะที่)
โดย หลัง when เป็น V2 / หลัง while เป็น Ving และในหนึ่งประโยค ใช้คำเชื่อมได้แค่คำเดียว

เมื่อทราบสูตรแล้ว ก็ลองมาดูตัวอย่าง จะได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นค่ะ
* ให้สังเกตที่สีนะคะ สีแดงเกิดก่อน สีม่วงเกิดทีหลัง
- I was taking a shower when the phone rang. 
(ฉันกำลังอาบน้ำอยู่ ตอนที่โทรศัพท์ดัง)
คำเชื่อม คือ when และด้านหลังก็เป็น V2 ตามสูตร
- Her mom called while Sandy was watching TV.
(แม่ของเธอโทรมา ในขณะที่แซนดี้กำลังดูโทรทัศน์)
คำเชื่อม คือ while และด้านหลังก็เป็น Ving ตามสูตร

สามารถวาง when และ while ที่หน้าประโยคได้ค่ะ
แต่เมื่อจบประโยคของ when และ while แล้ว ให้ใส่ , (comma) ด้วยค่ะ เช่น
- While they were playing soccer, it started to rain.
(ในขณะที่พวกเขากำลังเล่นฟุตบอล ฝนมันก็เริ่มตก)
- When my friends stopped by, I was cooking dinner.
(ตอนที่เพื่อน ๆ แวะมา ฉันกำลังทำอาหารเย็นอยู่)

 ถ้าในประโยคนั้นมีคำเชื่อม when แต่ทั้งหน้าและหลัง when ใช้ V2
ประโยคนั้นจะไม่ได้กล่าวถึงการเกิดขัดจังหวะกัน แต่มันจะสื่อถึงการเกิดเป็นลำดับ
โดยกริยา หรือประโยคที่อยู่หลัง when จะเกิดก่อน .. ลองดูตัวอย่างค่ะ
* ให้สังเกตที่สีนะคะ สีเขียวเกิดก่อน สีน้ำเงินเกิดทีหลัง
- I turned off my laptop when I finished working on my paper.
(ฉันปิดแล็ปท็อป ตอนที่ฉันทำรายงานเสร็จแล้ว)
- When the electricity went out last night, I lit a candle.
(เมื่อคืนนี้ตอนไฟดับ ฉันจุดเทียน)

 ถ้าประโยคนั้นมีคำเชื่อม while แต่ทั้งหน้าและหลัง while ใช้ Ving
ประโยคนั้นก็ไม่ได้กล่าวถึงการเกิดขัดจังหวะ แต่มันจะสื่อถึงการเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน
มักใช้เล่าถึงบรรยากาศที่เกิดขึ้นในอดีต ลองดูตัวอย่างค่ะ
- The teacher was teaching while the students were taking notes.
(คุณครูกำลังสอนอยู่ ในขณะที่เด็กนักเรียนก็กำลังจดบันทึก)
- While I was studying for the final exam, my sister was listening to music.
(ในขณะที่ฉันกำลังอ่านหนังเตรียมสอบปลายภาค น้องสาวของฉันก็กำลังฟังเพลง)

อ้าววว เขียนไปเขียนมา ยาวซะงั้น .. แต่ถ้าได้เขียนแล้ว ก็ต้องเอาใส้สุดค่ะ 5555
ลองเอาไปฝึกแต่งประโยคกันดูค่ะ ฝึกบ่อย ๆ เดี๋ยวเราก็จะใช้มันได้อย่างง่ายดายเอง
และสำหรับผู้อ่านที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา เรื่องนี้ก็ออกสอบบ่อยนะคะ อ่านเยอะ ๆ

วันนี้ไปก่อนดีกว่า ... ส่วนครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ไว้รอติดตามด้วยนะคะ
ไปจริง ๆ แล้วน้าาาา บ๊ายบายยยยยยยยยยยยยยยยยยย  (~ ̄▽ ̄) ♡. 

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Past Progressive EP.2

สวัสดีค่ะ กลับมาต่อกับ Past Progressive EP.2
EP. นี้จะขอพูดถึงเรื่องโครงสร้างประโยคนะคะ

และก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา เราต้องมาทำความรู้จักกับตัวย่อต่าง ๆ กันก่อนค่ะ
- S. ย่อมาจาก Subject (ประธาน)
- V.ing ย่อมาจาก Verb ที่เติม -ing (กริยา)
- Wh. คือ Question Word ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh
เช่น what, where, when, why, whose, whom, what time เป็นต้น

ต่อมา มาดูความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับคำกริยาช่วยกันค่ะ
- ประธาน He, She, It และเอกพจน์ (หนึ่งสิ่ง, อย่าง, ตัว) ใช้ was
- ประธาน You, We, They และพหูพจน์ใช้ were
- ประธาน I ใช้ was

เมื่อรู้ตัวย่อและความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกริยาแล้ว
เราก็มาเริ่มโครงสร้างของแต่ละประโยคกันเลยค่ะ

 ประโยคบอกเล่า (Affirmative)

S. + was/were + Ving

Examples :
I was writing an e-mail at 8 o'clock this morning.
(เมื่อเช้านี้ ตอนแปดโมง ฉันกำลังเขียนอีเมลอยู่)
They were sleeping at 11 p.m. last night.
(เมื่อคืนนี้ตอนห้าทุ่ม พวกเขากำลังนอนหลับอยู่)
Susan was cooking dinner at 7 this evening.
(ตอนหนึ่งทุ่ม ซูซานกำลังทำอาหารเย็นอยู่)

 ประโยคปฏิเสธ (Negative)

S. + was/were + not + Ving

Examples :
You weren't taking a shower at 9 last night.
(ตอนสามทุ่มเมื่อคืน คุณไม่ได้กำลังอาบน้ำ)
My sister wasn't going to school at 8 this morning.
(ตอนแปดโมงเช้า น้องสาวของฉันไม่ได้กำลังไปโรงเรียน)
I wasn't listening to music at noon today.
(ตอนเที่ยงของวันนี้ ฉันไม่ได้กำลังฟังเพลง)

 ประโยคคำถาม Yes, No Question

Was/Were + S. + Ving?

Examples :
Was it raining at 9 this morning?
(เมื่อเช้านี้ตอนเก้าโมง ฝนกำลังตกใช่ไหม?)
- Yes, it was. / No, it wasn't.
Were you looking for these shoes this afternoon?
(เมื่อตอนบ่ายนี้ คุณกำลังมองหารองเท้าคู่นี้อยู่ใช่ไหม?)
- Yes, I was. / No, I wasn't.
Were the children swimming at 6 p.m.?
(ตอนหกโมงเย็น เด็ก ๆ กำลังว่ายน้ำกันอยู่ใช่ไหม?)
- Yes, they were. / No, they weren't.

 ประโยคคำถาม Information Question

Wh + was/were + S. + Ving?

* ใช้โครงสร้างประโยคบอกเล่าในการตอบคำถาม Information Question

Examples :
Where were you going at 9 last night?
(เมื่อคืนนี้ตอนสามทุ่ม คุณกำลังไปที่ไหน?)
- I was going to a movie with my friends.
(ฉันกำลังไปดูหนังกับเพื่อน)
Who was Lisa talking to on the phone at 10 a.m.?
(ตอนสิบโมงเช้า คุณกำลังคุยโทรศัพท์กับใคร?)
She was talking to her boyfriend.
(เธอกำลังคุยกับแฟนอยู่)

นี่แหละค่ะ โครงสร้างของ Past Progressive ซึ่งก็จะคล้ายกับ Present Progressive เลย
เพียงแค่เปลี่ยน Verb to be จาก is,am,are เป็น was,were เท่านั้นเองค่ะ

ส่วนมากเราใช้ Tense นี้เพื่อบอกหรือเล่าถึงบรรยากาศที่มันกำลังเกิดขึ้นในอดีต
Tense นี้เลยมีเนื้อหาไม่มากเท่าไหร่ .. ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเลยทีเดียว 5555

ครั้งหน้าจะเป็น EP. สุดท้ายของ Past Progressive แล้วนะคะ
แต่ขอบอกไว้ก่อนเลยว่า ห้ามพลาดโดยประการทั้งปวง
เพราะ EP.3 จะพูดถึงหนึ่งใน Key Words ของ Tense นี้
ซึ่งก็คือ Interrupted (ถูกขัดจังหวะ) นั่นเองค่ะ

วันนี้ไปแล้วนะคะ เจอกันใหม่ค่าาาาาาาาาาาาาาา บ๊ายบาย ~^o^~

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

Past Progressive EP.1

สวัสดีค่ะ มาพบกับ Tense ใหม่กัน วันนี้ขอเขียนเรื่อง Past Progressive นะคะ
หรือบางคนอาจจะคุ้นมากกว่าในชื่อ Past Continuous นั่นเองค่ะ
ถ้าชื่อ Tense มีคำว่า Progressive หรือ Continuous ให้นึกถึง Ving ได้เลยค่ะ
และยิ่งถ้าเราเคยเรียนเรื่อง Present Progressive มาแล้ว Tense นี้ก็จะง่ายมากเลย
แค่เปลี่ยน Verb to be ในโครงสร้างให้เป็นอดีตเท่านั้นเองค่ะ

มาเริ่มเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า .. ก็เหมือนเช่นเคย
ก่อนจะเรียนเรื่องโครงสร้าง เราจำเป็นต้องรู้ Key Words และ Time Words กันก่อนค่ะ

❀ Key Words :
1. In progress at a particular time in the past (กำลังเกิดขึ้นตามเวลาที่เจาะจงในอดีต)
2. Interrupted (ถูกขัดจังหวะ)
3. Atmosphere (พูดถึงบรรยากาศ)
ถ้าประโยคที่เราต้องการจะสื่อ เข้าข่ายหนึ่งในสามข้อข้างบน ให้ใช้ Tense นี้ได้เลยค่ะ

❀ Time Words :
at + เวลาที่เจาะจงในอดีต, while (ในขณะที่) etc.

เมื่อรู้ทั้ง Key Words และ Time Words แล้ว เราก็จะสามารถแยกประโยคได้
ว่าประโยคนั้นควรใช้ Past Progressive Tense หรือไม่ 
ลองวิเคราะห์กันดูกันนะคะ .. เฉลยอยู่ข้างล่างค่ะ (อย่าเพิ่งแอบดูน้าาาา)

1. เจฟทำข้อสอบวิชาประวัติศาสตร์เมื่อวานนี้
2. เมื่อคืนนี้ตอนสามทุ่ม ฉันกำลังนั่งดูละคร
3. ตอนนี้คุณย่าของฉันกำลังงีบหลับอยู่บนโซฟา
4. ตอนเด็ก ๆ เขาชอบกินลูกอม แต่ตอนนี้เขาไม่ชอบแล้ว
5. คนจำนวนหนึ่งกำลังวิ่ง ส่วนเด็ก ๆ ก็กำลังเล่นฟุตบอลที่สวนสาธารณะเมื่อวานนี้
6. ตอนนี้โยและจิ๊บกำลังคุยกันเรื่องการซื้อรถคันใหม่
7. สมชายได้ยินเสียงแปลก ๆ ตอนสี่ทุ่มของเมื่อคืนนี้
8. เมื่อวานนี้ตอนห้าโมงเย็น อ้อมกำลังพาสุนัขออกไปเดินเล่น
9. เมื่อคืนนี้ตอนห้าทุ่ม พวกเรากำลังฟังเพลงของ The Toys
10. ฉันกำลังนั่งมองเพื่อน ๆ ในขณะที่พวกเขากำลังเต้นอย่างสนุกสนาน ที่งานปาร์ตี้เมื่อคืนนี้

★ ☆ ✰✩✫✬✭✮✯✰✱✲✳❃❂❁❀✿✾✽✼✻✺✹✸✷✪✣✤✥✦✧✡ ★ 

1. เจฟทำข้อสอบวิชาประวัติศาสตร์เมื่อวานนี้
✖ ... เพราะเกิดแล้ว จบแล้ว ไม่ได้กำลังทำ ต้องใช้ Simple Past
2. เมื่อคืนนี้ตอนสามทุ่ม ฉันกำลังนั่งดูละคร
 ... มีคำว่า "กำลัง" และมีเวลาเจาะจงในอดีต
3. ตอนนี้คุณย่าของฉันกำลังงีบหลับอยู่บนโซฟา
✖ ... มีคำว่า "กำลัง" ก็จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในอดีต สังเกตจากคำว่า "ตอนนี้"
4. ตอนเด็ก ๆ เขาชอบกินลูกอม แต่ตอนนี้เขาไม่ชอบแล้ว
✖ ... เป็นนิสัยในอดีต ต้องใช้ Simple Past (used to)
5. คนจำนวนหนึ่งกำลังวิ่ง ส่วนเด็ก ๆ ก็กำลังเล่นฟุตบอลที่สวนสาธารณะเมื่อวานนี้
 ... เป็นการเล่าถึงบรรยากาศ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
6. ตอนนี้โยและจิ๊บกำลังคุยกันเรื่องการซื้อรถคันใหม่
✖ ... มีคำว่า "กำลัง" ก็จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในอดีต สังเกตจากคำว่า "ตอนนี้"
7. สมชายได้ยินเสียงแปลก ๆ ตอนสี่ทุ่มของเมื่อคืนนี้
✖ ... ข้อนี้ให้ดูกริยา "ได้ยิน" เป็น Non-Action Verb 
ถึงเหตุการณ์นี้จะกำลังเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถเติม -ing ได้อยู่ดี 
เพราะไม่สามารถใช้ Non-Action Verbs ใน Progressive Tenses
8. เมื่อวานนี้ตอนห้าโมงเย็น อ้อมกำลังพาสุนัขออกไปเดินเล่น
 ... มีคำว่า "กำลัง" และมีเวลาเจาะจงในอดีต
9. เมื่อคืนนี้ตอนห้าทุ่ม พวกเรากำลังฟังเพลงของ The Toys
 ... มีคำว่า "กำลัง" และมีเวลาเจาะจงในอดีต
10. ฉันกำลังนั่งมองเพื่อน ๆ ในขณะที่พวกเขากำลังเต้นอย่างสนุกสนาน ที่งานปาร์ตี้เมื่อคืนนี้ 
 ... เป็นการเล่าถึงบรรยากาศ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต

เมื่อเราวิเคราะห์ประโยคได้แล้ว เราก็ต้องมาศึกษาเรื่องโครงสร้างของประโยค
แต่วันนี้เนื้อหาก็เยอะพอสมควรแล้ว ไว้เราค่อยมาต่อใน EP.2 กันดีกว่าค่ะ
วันนี้ไปแล้วค่ะ เจอกันใหม่ครั้งหน้านะคะ บ๊ายบายยยยยยยยยยย ♡. (^_^) ♡.

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

Simple Past EP.3

สวัสดีค่ะ เราเดินทางมาถึง EP. สุดท้ายของ Simple Past กันแล้วนะคะ
ใน EP.3 นี้ พลอยอยากจะพูดถึงเรื่อง "กฎการเติม -ed" ซึ่งถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราควรรู้

วันนี้จะมาแบบ มาเร็ว เคลมเร็ว ไปเร็ว แล้วกันนะคะ 55555 เริ่ม!!! \\*^o^*//

 กฎการเติม -ed ท้ายคำกริยาที่ไม่ผันรูป :
1. คำกริยาทั่วไป สามารถเติม -ed ได้เลย เช่น
watch - watched, elect - elected, discover - discovered, show - showed 

2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -e สามารถเติม -d ได้เลย เช่น   
die - died, smile - smiled, tie - tied, live - lived, arrive - arrived, look - looked

3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -y และหน้า -y ไม่ใช่สระ ให้เปลี่ยน -y เป็น -i แล้วจึงเติม -ed เช่น
study - studied, cry - cried, fry - fried, try - tried, apply - applied   

4.  คำกริยาหนึ่งพยางค์ ที่ลงท้ายด้วยสระหนึ่งตัว และตัวสะกดหนึ่งตัว 
ให้เพิ่มตัวสะกดเข้าไป แล้วจึงเติม –ed เช่น 
plan - planned, hop - hopped, stop - stopped, pat - patted, fit - fitted

5. คำกริยาสองพยางค์ ที่ลงท้ายด้วยสระหนึ่งตัว, ตัวสะกดหนึ่งตัว และเน้นเสียงที่พยางค์หลัง 
ให้เพิ่มตัวสะกดเข้าไป แล้วจึงเติม -ed เช่น 
admit - admitted, prefer - preferred, transfer - transferred  

นี่แหละค่ะ กฎในการเติม -ed มีเพียง 5 ข้อเท่านั้นเอง ไม่เยอะเลยเนอะ
เมื่ออ่านจบแล้ว ลองหาแบบฝึกหัดทำเพิ่มเติมก็ดีค่ะ จะได้จำได้เร็วขึ้น
และจะได้คุ้นกับคำกริยารูปนี้ .. ฝึกบ่อย ๆ ค่อย ๆ ชิน อิอิ

ส่วน EP. หน้าจะเป็นเรื่องอะไรน้านนนนน
ต้องรอติดตามนะคะ วันนี้ไปแล้วค่ะ ฟิ้ววววววววววววววววววววววว ♡. (^人^)



วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

Simple Past EP.2

เฮลโหลลลลลล กลับมาต่อกันกับ Simple Past EP.2 ค่ะ
EP. นี้จะพูดถึงเรื่องโครงสร้างของประโยคนะคะ ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน

แต่ก่อนอื่น ขอแนะนำตัวย่อที่จะต้องเจอกันก่อนนะคะ
- S. ย่อมาจาก Subject (ประธาน)
- V. ย่อมาจาก Verb (กริยา)
- Vinf ย่อมาจาก Verb Infinitive (กริยารูปพื้นฐานที่ไม่เปลี่ยนรูป)
* หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ V1 ที่ไม่เติม s,es,ing หรือ ed นั่นเอง
- Wh. คือ Question Word ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh
เช่น what, where, when, why, whose, whom, what time เป็นต้น

เมื่อรู้จักตัวย่อแล้ว เราก็มาลุยเรื่องโครงสร้างได้เลยค่ะ

 ประโยคบอกเล่า (Affirmative)

S. + V2

*V2 มี 2 ประเภท คือ
1. เติม -ed (รูปปกติ หรือ Regular Verb)
2. ผันรูป (รูปไม่ปกติ Irregular Verb)

Examples :
I watched Me Before You last night. (เมื่อคืนนี้ ฉันดูหนังเรื่อง Me Before You)
She ran into her old friend yesterday. (เธอพบเพื่อนเก่าโดยบังเอิญเมื่อวานนี้)
They flew to German two weeks ago. (สองสัปดาห์ก่อน พวกเขาบินไปเยอรมัน)

 ประโยคปฏิเสธ (Negative)

S. + didn't + Vinf

Examples :
We didn't finish the project. (พวกเราทำโครงการนี้ไม่เสร็จ)
The Simpsons didn't buy a new house. (ครอบครัวซิมสัน ไม่ได้ซื้อบ้านหลังใหม่)
He didn't get to work on time this morning because he missed the train.
(เมื่อเช้านี้เขาไปทำงานไม่ตรงเวลา เพราะเขาตกรถไฟ)

 ประโยคคำถามที่ตอบได้แค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ (Yes, No Question)

Did + S. + Vinf?

Examples :
Did you meet Joan at the party last night? (คุณได้พบโจแอนที่งานปาร์ตี้เมิื่อคืนนี้ไหม?)
- Yes, I did. / No, I didn't.
Did they study for the final exam?
(พวกเขาได้อ่านหนังสือ เพื่อเตรียมสอบปลายภาคไหม?)
- Yes, they did. / No, they didn't.
Did Sheila stay with you last week? (เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชีล่าได้พักอยู่กับคุณไหม?)
- Yes, she did. / No, she didn't.

 ประโยคคำถามที่ต้องการข้อมูล (Information Question)

Wh. / How + did + S. + Vinf?

* ให้ใช้โครงสร้างประโยคบอกเล่าตอบนะคะ

Examples :
What time did you get up this morning? (เมื่อเช้านี้ คุณตื่นนอนกี่โมง?)
- I got up at 7:30. (ฉันตื่นเจ็ดโมงครึ่ง)
Where did Jamie go last night? (เมื่อคืนนี้เจมี่ไปไหน?)
- He went to Joseph's place. (เขาไปบ้านโจเซฟ)
What did Tommy buy his mom on her birthday?
(ทอมมี่ซื้ออะไรเป็นของขวัญวันเกิดให้แม่ของเขา?)
- He bought a pearl necklace. (เขาซื่อสร้อยไข่มุก)

มาถึงตรงนี้ เราก็ทราบโครงสร้างครบทั้ง 4 ประโยคแล้วนะคะ
สังเกตกันมั้ยคะ ว่ากริยาช่องที่ 2 มีสองแบบ แบบที่ผันรูปและเติม -ed
แบบที่ผันรูปนั้น เราสามารถท่องจำเอาได้ค่ะ เพราะมีตารางกริยา 3 ช่องตาม Internet
หรือตามแบบเรียนต่าง ๆ ไว้ให้เราแล้ว แต่แบบที่เติม -ed เราต้องรู้จักกฎการเติม -ed ค่ะ
ดังนั้นใน EP.3 พลอยจะเขียนเรื่อง กฎการเติม -ed นะคะ ไว้รออ่านกันค่ะ

วันนี้เนื้อหาก็พอสมควรแล้ว ไปก่อนดีกว่าเนอะ เจอกันใหม่ครั้งหน้าค่าาาาาาา ↖(^ω^)↗ ♡.

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

Simple Past EP.1

สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบกันกับ Simple Past หรือจะเรียกว่า Past Simple ก็ได้ เอาที่สะดวก อิอิ
พลอยคิดว่า Tense นี้เป็น Tense ที่ง่ายที่สุด เพราะอะไรน่ะเหรอ (^__^)..?
ก็เพราะว่าเราสามารถใช้กริยาช่องที่ 2 ตัวเดียวกัน ได้กับประธานทุกตัว
โดยไม่ต้องแยกประธานเลยว่าตัวไหนเป็นเอกพจน์ ตัวไหนเป็นพหูพจน์
เพียงแค่จำหลักโครงสร้างของ Tense นี้ให้ได้ แล้วทุกอย่างจะง่ายเองค่ะ

ก่อนจะเข้าเรื่องโครงสร้าง .. แน่นอนว่าเราต้องรู้ Key Words และ Time Words ก่อนค่ะ
 Key Words :
1. Completed Action (การกระทำที่เสร็จสมบูรณ์)
2. Specified Time (เจาะจงเวลา)
3. Past Habits (นิสัยในอดีต)
* ข้อ 3 นี้คือการใช้ used to นั่นเองค่ะ พลอยเคยเขียนไว้แล้ว
และเผื่อใครที่ยังไม่เคยอ่าน ลองเสิร์ชหาดูในคลังบทความ ด้านขวามือนะคะ
ถ้าประโยคที่เราต้องการจะสื่อ เข้าข่ายหนึ่งในสามข้อที่กล่าวมา ให้ใช้ Tense นี้ได้เลยค่ะ

นอกจากจะรู้ Key Words แล้ว เราควรรู้ Time Words ด้วยค่ะ
เพราะ Time Words เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราทำข้อสอบได้เร็วขึ้น
มาดูกันเลยค่ะ ว่า Time Words ที่เห็นบ่อย ๆ จะมีคำไหนบ้าง

 Time Words ที่พบได้บ่อยใน Simple Past :
yesterday (เมื่อวานนี้), last (ที่แล้ว), ago (ที่ผ่านมา), in + เวลาหรือปีที่ผ่านมาแล้ว,
the first time (ครั้งแรก), the last time (ครั้งสุดท้าย) etc.

เมื่อรู้ทั้ง Key Words และ Time Words แล้ว เราก็จะสามารถแยกประโยคได้
ว่าประโยคนั้นควรใช้ Simple Past Tense หรือไม่ 
ลองวิเคราะห์กันดูกันนะคะ .. เฉลยอยู่ข้างล่างค่ะ (อย่าเพิ่งแอบดูน้าาาา)

1. ทิมชอบไปสวนสัตว์ในวันหยุดสุดสัปดาห์
2. เมื่อวานนี้พวกเขากินส้มตำเป็นอาหารเย็น
3. สุชาติส่งจดหมายหาแฟนของเขาเมื่อสองวันที่ผ่านมา
4. เด็ก ๆ กำลังทำข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
5. เมื่อปีที่แล้ว พวกเราไปปารีสเพื่อฉลองวันครบรอบแต่งาน
6. ตอนเด็ก ๆ จิมมี่ชอบดูการ์ตูน แต่ตอนนี้เขาไม่ดูแล้ว
7. แซนดี้สอนหนังสือที่โรงเรียนนี้มาสามปีแล้ว
8. ซูซานเคยอาศัยอยู่ในกรุงเทพเมื่อปี 2000
9. สก็อตอยากไปเล่นสกีสักครั้ง
10. คิมร้องเพลงในงานโรงเรียนเมื่อคืนนี้

★ ☆ ✰✩✫✬✭✮✯✰✱✲✳❃❂❁❀✿✾✽✼✻✺✹✸✷✪✣✤✥✦✧✡ ★ 

1. ทิมชอบไปสวนสัตว์ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ✖ ... เป็นเรื่องจริง ต้องใช้ Simple Present
2. เมื่อวานนี้พวกเขากินส้มตำเป็นอาหารเย็น  ... มี Time Word (เมื่อวานนี้) 
3. สุชาติส่งจดหมายหาแฟนของเขาเมื่อสองวันที่ผ่านมา  ... มี Time Word (ที่ผ่านมา)
4. เด็ก ๆ กำลังทำข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ✖ ... กำลังเกิดขึ้น ต้องใช้ Present Progressive
5. เมื่อปีที่แล้ว พวกเราไปปารีสเพื่อฉลองวันครบรอบแต่งาน  ... มี Time Word (ที่แล้ว) 
6. ตอนเด็ก ๆ จิมมี่ชอบดูการ์ตูน แต่ตอนนี้เขาไม่ดูแล้ว  ... เป็นนิสัยในอดีต 
7. แซนดี้สอนหนังสือที่โรงเรียนนี้มาสามปีแล้ว ✖ ... เหตุการณ์ยังไม่จบ ตอนนี้เธอก็ยังสอนอยู่
8. ซูซานเคยอาศัยอยู่ในกรุงเทพเมื่อปี 2000  ... มี Time Word (ปี 2000)
9. สก็อตอยากไปเล่นสกีสักครั้ง ✖ ... เป็นเรื่องจริง ต้องใช้ Simple Present
10. คิมร้องเพลงในงานโรงเรียนเมื่อคืนนี้  ... มี Time Word (เมื่อคืนนี้)

เมื่อเราวิเคราะห์ประโยคได้แล้ว เราก็ต้องมาศึกษาเรื่องโครงสร้างของประโยค
แต่วันนี้เนื้อหาก็เยอะพอสมควรแล้ว ไว้เราค่อยมาต่อใน EP.2 กันดีกว่าค่ะ
วันนี้ไปแล้วค่ะ เจอกันใหม่ครั้งหน้านะคะ บ๊ายบายยยยยยยยยยย ♡. (^_^) ♡.

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

Non-Action Verb EP.3

สวัสดีค่าาาาา วันนี้มาต่อกับอีก 5 คำที่เหลือ ของ Non-Action Verb ที่เติม -ing ได้กันค่ะ
ไม่พูดพร่ำทำเพลง เรามาเริ่มกันเล้ยยยยยย └(^o^)┘

 see
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "เห็น" เช่น
"Do you see that woman?" (คุณเห็นผู้หญิงคนนั้นไหม?)
John didn't see anyone in the meeting room yesterday.
(จอห์นไม่เห็นใครที่ห้องประชุมเลยเมื่อวานนี้)
- เป็น Action Verb แปลว่า "พบ" เช่น
The doctor is seeing a patient right now. (ตอนนี้คุณหมอกำลังพบคนไข้อยู่)

 taste
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "มีรสชาติ" เช่น
Sugar tastes sweet. (น้ำตาลมีรสหวาน)
This coffee tastes very bitter. (กาแฟแก้วนี้มีรสขมมาก)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ชิม" เช่น
Susie is tasting her chicken soup. (ซูซี่กำลังชิมซุปไก่ของเธอ)

 smell
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "มีกลิิ่น, ส่งกลิ่น" เช่น
Your perfume smells like a flower. (กลิ่นน้ำหอมของคุณ เหมือนกลิ่นดอกไม้เลย)
The garbage in the kitchen smells very bad. (ขยะในห้องครัวมีกลิ่นเหม็นมาก)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ดม" เช่น
June is smelling a rose. (เจนกำลังดมดอกกุหลาบ)
Bob is smelling some food on the table. (บ็อบกำลังดมกลิ่นอาหารที่อยู่บนโต๊ะ)

 love
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "รัก" เช่น
Your parents love you very much. (พ่อแม่ของคุณ รักคุณมาก)
Sam loves his dog and cat. (แซมรักสุนัขและแมวของเขา)
- เป็น Action Verb แปลว่า "หลงรัก" เช่น
Mr. and Mrs.Johnson are enjoying parenthood. In fact, they are loving it.
(คุณและคุณนายจอห์นสันกำลังสนุกกับการเป็นพ่อแม่คน จริง ๆ แล้ว พวกเขาหลงรักมันเลยล่ะ)

 be
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "เป็น, อยู่, คือ" เช่น
Yaya is beautiful. (ญาญ่าสวย)
They are at the library. (พวกเขาอยู่ที่ห้องสมุด)
- เป็น Action Verb แปลว่า "กลายเป็น, ทำเป็น" เช่น
Jim is ill, but he won't go to the hospital. He is being foolish.
(จิมป่วย แต่เขาไม่ยอมไปหาหมอ เขากำลังทำตัวงี่เง่า)
Jeff is being rude. He is talking on the phone while the teacher is teaching.
(เจฟกำลังทำตัวหยาบคาย เขาคุยโทรศัพท์ขณะที่คุณครูกำลังสอนอยู่)
* การใช้ be ที่เติม -ing มักใช้ในโครงสร้าง S. + is, am, are + being + adj.
ใช้เพื่อกล่าวถึงนิสัยที่เพิ่งมาเป็นในช่วงขณะนั้น จากตัวอย่างด้านบน
จริง ๆ จิมไม่ได้เป็นคนงี่เง่า แต่เขาเริ่มทำตัวงี่เง่าตอนป่วย
ส่วนเจฟก็ไม่ใช่คนหยาบคาย แต่เขาเริ่มทำตัวหยาบคายในคาบเรียนนี้

เย่!! ในที่สุดก็ครบ 10 คำแล้ว อิอิ
ลองเอาไปฝึกแต่งประโยคเล่น ๆ กันดูค่ะ จะได้ไม่ลืม

ส่วนครั้งหน้าที่เราเจอกัน จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ไว้คอยติดตามด้วยนะคะ
วันนี้พลอยไปแล้วค่ะ บ๊ายบายยยยยยยยยยยยยยยย ˋ( ° ▽、° )♡.



วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

Non-Action Verb EP.2

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันต่อกับเรื่อง Non-Action Verb ที่สามารถเติม -ing ได้
มาดูกันเลยดีกว่า ว่ามีคำไหนที่เราเห็นบ่อย ๆ กันบ้าง

 look
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "ดูเหมือน" เช่น
It looks like rain. (ดูเหมือนฝนจะตกนะ)
Mountains look beautiful. (ภูเขาดูสวยดีนะ)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ดู, มอง" เช่น
James is looking at his car. (เจมส์กำลังมองรถของเขาอยู่)
The students are looking out the window. (นักเรียนกำลังมองออกไปนอกหน้าต่าง)

 appear
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "ดูเหมือน" เช่น
Sandra appears to be happy today. (ดูเหมือนว่าวันนี้แซนดร้าจะมีความสุขนะ)
The workers appeared to be tired yesterday. (ดูเหมือนคนงานเหนื่อย ๆ นะเมื่อวานนี้)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ปรากฎตัว, แสดงตัว" เช่น
Jason is appearing in the news today. (เจสันปรากฏตัว(อยู่)ในข่าววันนี้)

 think
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "คิดว่า" (เป็นความคิด, ความเชื่อส่วนตัว) เช่น
I think that English is important. (ฉันคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญ)
Jane thinks that her brother has a problem. (เจนคิดว่าน้องชายของเธอมีปัญหา)
- เป็น Action Verb แปลว่า "คิด" เช่น
Tim is thinking about his vacation. (ทิมกำลังคิดเรื่องวันหยุดพักร้อนของเขา)
* ลองสังเกตดูนะคะ
ถ้า think ที่เป็น Non-Action Verb จะตามด้วย (that) S.+V.
ส่วน think ที่เป็น Action Verb มักตามด้วยคำนาม

 feel
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "รู้สึกว่า" (ความรู้สึก, ความคิดส่วนตัว) เช่น
I feel that Amy is a good actress. (ฉันรู้สึกว่าเอมี่เป็นนักแสดงที่ดีเลยนะ)
* ข้างหลัง feel จะตามด้วย (that) S. + V.
- เป็น Action Verb แปลว่า "รู้สึก" (ส่วนมากเป็นทางกายภาพ) เช่น
I'm not feeling well right now. (ตอนนี้ฉันรู้สึกไม่ค่อยดีเลย)
Rose is feeling a little tired. (ตอนนี้โรสรู้สึกเหนื่อยนิดหน่อย)

 have
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "มี" (แสดงความเป็นเจ้าของ) เช่น
They have a big house. (พวกเขามีบ้านหลังใหญ่)
He has a lot of sports cars. (เขามีรถสปอร์ตหลายคัน)
- เป็น Action Verb แปลว่า "มี, กิน" เช่น
They are having spaghetti right now. (ตอนนี้พวกเขากำลังกินสปาเก็ตตี้)
The children are having a good time. (เด็ก ๆ กำลังสนุก หรือ เด็ก ๆ กำลังมีช่วงเวลาที่ดี)
* have ที่แปลว่า "มี" ในตัวอย่างนี้ ไม่ได้แสดงถึงความเป็นเจ้าของ
เพราะเป็นการมีช่วงเวลาที่ดี เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

เราพอจะทราบความแตกต่างกันบ้างแล้วเนอะ
งั้นเวลาใช้งาน ก็ลองเลือกใช้รูปของคำกริยาที่เหมาะกับความหมายที่เราอยากจะสื่อออกไป
ฝึกบ่อย ๆ เดี๋ยวเราก็จะชิน และใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้นค่ะ

ตอนแรกก็ว่าจะเขียนให้ครบทั้ง 10 คำ
แต่ไม่คิดว่าเขียนไปเขียนมาจะยาวขนาดนี้ 555
งั้นพลอยขออนุญาตแบ่งอีก 5 คำที่เหลือ ไปเขียนไว้ใน EP.3 นะคะ
รอติดตามกันด้วยน้าาาาาาาาาา วันนี้ไปแล้วค่ะ บ๊ายบาย ❤‧:❉:‧ .。.:*・❀●•♪.。









วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

Non-Action Verb EP.1

สวัสดีค่ะ วันนี้ขอคั่น Tense ด้วยเรื่อง Non-Action Verb ก่อนนะคะ
เพราะเรื่องนี้ก็มีความสำคัญ ในการเลือกใช้ Tense มากเหมือนกันค่ะ

เรามาทำความรู้จักกับ Non-Action Verb (กริยาที่ไม่แสดงการกระทำ) กันดีกว่าค่ะ
จริง ๆ แล้ว Non-Action Verb มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Stative Verb
เป็นคำกริยาที่ไม่ใช้ในรูป Progressive Tenses  คือ จะไม่เติม -ing แม้จะกำลังเกิดขึ้นก็ตาม
เพราะคำกริยาประเภทนี้ ไม่สามารถแสดงออกมาเป็นการกระทำได้ เราต้องบอกให้คนอื่นรู้
ส่วนมากมักเป็นคำกริยาที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ความชอบ ของตัวผู้พูดเอง

อ้าวววว แล้วถ้าเติม -ing ไม่ได้ ต้องใช้ Tense ไหนล่ะ?  
ก็ใช้ Tense ใดก็ได้ ที่ไม่ใช่ Progressive Tenses (ตระกูล -ing)
ส่วนมากใช้ Simple Present (ปัจจุบัน), Simple Past (อดีต) 

อาจจะฟังแล้วงง ๆ ลองมาดูตัวอย่างประกอบกันค่ะ

 Examples : 
1. read (v.) = อ่าน 
* กริยา "อ่าน" สามารถแสดงออกเป็นการกระทำได้ 
เช่น เพื่อนเดินมาเห็นเรากำลังอ่านหนังสือ เขาก็รู้ว่าเราทำอะไร โดยที่เราไม่ต้องบอก
แสดงว่า read เป็น Action Verb (กริยาแสดงการกระทำ) สามารถเติม -ing ได้
- I'm reading a magazine.

2. want (v.) = ต้องการ
* กริยา "ต้องการ" ไม่สามารถแสดงออกเป็นการกระทำได้
เช่น ตอนนี้เพื่อนสาวต้องการความช่วยเหลือจากเรา แต่เพื่อนไม่ได้บอกเรา
ถามว่าเราจะรู้มั้ยว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราก็ไม่รู้ ถ้าเขาไม่บอก ถูกมั้ยคะ
เพราะฉะนั้น want จึงเป็น Non-Action Verb (กริยาที่ไม่แสดงการกระทำ)
เวลาแต่งประโยค ก็เลือกใช้โครงสร้างที่ไม่ใช่ Progressive Tenses 
- She needs your help. 

 พอเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นมั้ยคะ คราวนี้เรามาดู Non-Action Verb ที่พบได้บ่อย ๆ กันค่ะ
know (รู้, รู้จัก)                                                
like (ชอบ)
believe (เชื่อ)                                               
appreciate (ตระหนัก, ซาบซึ้ง)
doubt (สงสัย)                                             
care about (ชอบมาก, สนใจ)
recognize (รู้จัก, จำได้)                               
please (ทำให้พอใจ)
remember (จำได้)                                       
prefer (ชอบมากกว่า)
suppose (ทึกทักเอา, คาดเดา)                     
dislike (ไม่ชอบ)
understand (เข้าใจ)                                     
fear (กลัว)
hate (เกลียด)                                               
mind (ถือสา)
belong (เป็นของ)                                       
possess (ครอบครอง)
own (เป็นเจ้าของ)                                     
desire (ปรารถนา, ต้องการ)
need (ต้องการ, จำเป็นต้อง)                       
want (ต้องการ)
wish (ปรารถนา, ต้องการ)                         
consist of (ประกอบด้วย)
contain (ประกอบด้วย)                               
exist (ดำรงอยู่, มีอยู่จริง)
matter (ถือเป็นเรื่องสำคัญ)                       
hear (ได้ยิน)
sound (ฟังดู, มีเสียง)                                 
seem (ดูเหมือน)
look like (ดูเหมือน)                                   
resemble (คล้ายคลึง)
agree (เห็นด้วย)                                       
disagree (ไม่เห็นด้วย)
mean (ตั้งใจ, หมายความว่า)                     
promise (ให้สัญญา)
amaze, surprise (ทำให้ประหลาดใจ) 
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะมี Non-Action Verb บางตัวที่สามารถเติม -ing ได้
แต่ความหมายจะเปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ

ฮั่นแน่! อยากรู้ใช่มั้ยคะว่ามีคำไหนบ้าง ไว้พลอยจะบอกใน EP.2 นะคะ อิอิ
วันนี้ไปก่อนดีกว่า รู้สึกว่าจะเขียนยาวเกินไปแล้ว เดี๋ยวคนอ่านจะเบื่อเอา
ไปแล้วค่าาาาา บ๊ายบาย ↖(^ω^)↗ ♡.


             


วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

Present Progressive EP.3

สวัสดีค่ะ เรามาถึง EP.3 ซึ่งเป็น EP. สุดท้ายของ Present Progressive กันแล้วนะคะ
EP. นี้จะขอพูดถึงเรื่องกฎการเติม -ing และบอกให้ดีใจก่อน ว่าวันนี้เนื้อหาไม่เยอะค่ะ 5555
งั้นเรามาเริ่มกันเล้ยยยยย ♡. \^o^/ ♡.

1. คำกริยาส่วนมากเติม -ing ได้เลย 
เช่น eat - eating, drink - drinking, sleep - sleeping, read - reading, play - playing
                               
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -e ให้ตัด -e ทิ้ง แล้วจึงเติม -ing 
เช่น write - writing, ride - riding, drive - driving, make - making, stare - staring
                
3. คำกริยาหนึ่งพยางค์ ที่ลงท้ายด้วยสระหนึ่งตัว และตัวสะกดหนึ่งตัว 
ให้เพิ่มตัวสะกดเข้าไป แล้วจึงเติม -ing 
เช่น run - running, swim - swimming, plan - planning, shut - shutting, hit - hitting
                 
4. คำกริยาสองพยางค์ ที่ลงท้ายด้วยสระหนึ่งตัว, ตัวสะกดหนึ่งตัว และเน้นเสียงที่พยางค์หลัง 
ให้เพิ่มตัวสะกดเข้าไปแล้วจึงเติม -ing 
เช่น admit - admitting, prefer - preferring, transfer - transferring
                 
5. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ie ให้เปลี่ยน -ie เป็น -y แล้วจึงเติม -ing 
เช่น lie - lying, die - dying, tie - tying 
                    
6. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -w, -x, -y ถึงแม้จะมีเพียงหนึ่งพยางค์ และลงท้ายด้วยสระหนึ่งตัว 
ตัวสะกดหนึ่งตัวก็ตาม ไม่ต้องเพิ่มตัวสะกด แต่เติม -ing ได้เลย 
เช่น snow - snowing, fix - fixing, pay - paying         

นี่แหละค่ะ กฎการเติม -ing เมื่อเราทราบกฎแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาในการสะกดอีกต่อไป
เอาไปใช้บ่อย ๆ นะคะ จะได้ชินและจำได้แม่น งั้นวันนี้ไปก่อนดีกว่า เดี๋ยวยิ่งพิมพ์จะยิ่งยาว อิอิ
ส่วนตอนหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ไว้คอยติดตามกันต่อไปนะคะ แล้วเจอกันค่าาาาา