วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

Passive Voices

สวัสดีค่าาาาาาาาาา ขอต้อนรับวันที่สวยงามด้วย Passive Voices ค่ะ

เรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะคะ ว่า Passive Voices คืออะไร

Passive Voices คือ รูปประโยคที่เน้นประธานเป็นผู้ถูกกระทำ

เช่น พัสดุถูกส่ง, หนังสือถูกอ่าน, รองเท้าผ้าใบถูกขาย ประมาณนี้ค่ะ


ส่วนประโยคที่เน้นประธานเป็นผู้กระทำ เราเรียกว่า Active Voices

เช่น เจนส่งพัสดุทุกวัน, โรสกำลังอ่านหนังสือ, ทิมขายรองเท้าอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า

เพื่อน ๆ อาจจะคุ้นกับประโยค Active Voices มากกว่า 

เพราะ Tenses ที่เราใช้อยู่ทุกวัน คือโครงสร้าง Active ค่ะ


เพื่อน ๆ อาจมีคำถามว่า แล้วจะมี Passive Voices ไว้ทำไม ใช่ไหมคะ?

ที่มีก็เพราะว่า เมื่อเราต้องการพูดถึงการกระทำใด การกระทำหนึ่ง

แต่ไม่ได้ต้องการเจาะจงผู้กระทำ เราก็ใช้ Passive นี่แหละค่ะ


Passive Voices จะมีโครงสร้างที่ต่างกันไปตามแต่ละ Tense ค่ะ

เพราะฉะนั้น ถ้าใครแม่นโครงสร้างของทั้ง 12 Tenses แล้ว

ก็จะสามารถจำโครงสร้างของ Passive ได้ง่าย และแม่นยำขึ้นค่ะ


⏳ เรามาดูโครงสร้าง Passive ของแต่ละ Tense กันเลยค่ะ

🔹 Present Simple : S + is/am/are + V3

Ex. Millions of packages are sent around the world every day.

🔹 Present Progressive : S + is/am/are + being + V3

Ex. Your parcel is being delivered right now.

🔹 Present Perfect : S + have/has + been + V3

Ex. Our suitcases have been brought to the room already.

🔹 Past Simple : S + was/were + V3

Ex. This house was built in 1889.

🔹 Past Progressive : S + was/were + being + V3

Ex. This room was being cleaned at 3 p.m. yesterday.

🔹 Past Perfect : S + had + been + V3

Ex. The leftovers had been eaten up by the time I arrived home last night.

🔹 Future Simple : S + will + be + V3

Ex. The project will be finished next week.

🔹 Future Perfect : S + will + have + been + V3

Ex. Dinner will have been prepared by the time the guests come tonight.


⏳ Notes:

1) หัวใจสำคัญของ Passive Voices คือ ต้องมี Verb to "be" + V3 เสมอ

2) Present/Past Perfect Progressive และ Future Progressive ไม่นิยมใช้เป็น Passive

3) หลักการจำ คือ ให้เปลี่ยน Vแท้ ในโครงสร้าง Tenses ปกติ เป็น Verb to be ตามรูปนั้น ๆ

    แล้วตามด้วย V3 ค่ะ  📌

     V1 = is/am/are            V3 = been            Vinf = be

     V2 = was/were           Ving = being           

4) ในกรณีที่ต้องการบอกผู้กระทำ ให้ใช้ by นำหน้าคำนามนั้นได้

     เช่น This vase was painted by my grandma.

5) คำกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรม 

     จะไม่สามารถทำเป็น Passive Voice ได้ค่ะ เช่น fly, smile, die, arrive

     เช่น My pet was died yesterday. (สัตว์เลี้ยงของฉันถูกตาย) ❎ ถูกตายไม่ได้ค่ะ

     ที่ถูกต้องเป็นโครงสร้าง Tense ปกติ คือ My pet died yesterday. ✅ 


นี่เป็นภาพรวม สรุปแบบย่อ ๆ ของ Passive Voices นะคะ

เพื่อน ๆ เอาไว้อ่านเป็นแนวทางได้ค่ะ จะได้แปลความหมายและเห็นภาพมากขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะอ่านอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฝึกทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ ด้วยนะคะ 

เพราะถ้าไม่ได้ใช้เลย ก็จะลืมแน่นอนค่ะ ✌️


ตอนแรกคิดว่าจะไม่เขียนยาวแล้วนะ แต่พิมพ์สนุกมือไปหน่อย อิอิ  🤣

ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบ หวังว่าจะชอบเนื้อหาที่พลอยนำมาฝากในวันนี้นะคะ

แล้วเดี๋ยวเรามาเจอกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ วันนี้ไปแล้วน้าาาาาา

ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ บ๊ายบาย  🌱 🌿 ☘️ 🍀 🌈

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

Time Clauses

 สวัสดีค่ะทุกคนนนนน วันนี้มีเรื่อง Time-Clauses มาฝากค่ะ

อาจจะยาวหน่อยนะคะ แต่รับรองเลยว่าคุ้มค่ากับเวลากับการอ่านแน่นอนค่ะ

เนื่องจากเราผ่านทั้ง 12 Tenses มาแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่เราควรรู้ก็คือ Time-Clauses

เราจะใช้ Time-Clause (อนุประโยค) เชื่อมสองประโยคเข้าด้วยกัน

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านเวลา ของเหตุการณ์ทั้งสองส่วนค่ะ


🔎 เรามาดูโครงสร้างของ Time-Clauses ที่เจอบ่อย ๆ กันค่ะ

Time-Clause ทุกแบบจะต้องขึ้นต้นด้วย Adverbs ที่บอกเวลา ได้แก่ 

before (ก่อน)                 after (หลังจาก)               until/till (จนกระทั่ง)

as soon as (ทันทีที่)       when (เมื่อ, ตอนที่)          while (ในขณะที่)*

by the time (เมื่อ)**      as long as (ตราบเท่าที่)   the first time (ครั้งแรก)

the last time (ครั้งสุดท้าย)    every time/whenever (ทุกครั้ง, เมื่อไหร่ก็ตาม)

Note: ต่อไปนี้ พลอยจะแทน adverbs ด้านบนทั้งหมดด้วยคำว่า markers นะคะ

เพราะพวกมันจะเป็นตัวบ่งชี้ให้รู้ว่าหลังจากคำเหล่านี้คือ Time-Clause                 

* ส่วนมากหลัง while มักจะเป็น Progressive Tenses เพื่อเน้นถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

** By the time มักใช้คู่กับ Past Perfect และ Future Perfect

ป.ล. Time-Clause เป็นหนึ่งใน Adverb-Clauses ค่ะ


🔎 โครงสร้างที่ 1: marker + S. + V1(s/es) 

* ใช้กับ Present และ Future Tenses ตระกูลใดก็ได้

🔎 โครงสร้างที่ 2: marker + S. + V2

* ใช้กับ Past Tenses ตระกูลใดก็ได้


ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสองเหตุการณ์ในหนึ่งประโยค

และทั้งสองเหตุการณ์นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันในด้านของเวลา

โครงสร้างประโยคที่ถูกต้อง ควรเป็นดังนี้ค่ะ Main-Clause + Time-Clause

โดยที่ Main-Clause คือโครงสร้างตาม 12 Tenses เลยค่ะ


ลองมาดูตัวอย่างประโยคที่มี Time-Clause กันนะคะ

- I'll call you after I finish work tomorow.

- Before she goes to school tomorrow, she'll eat dinner.

- After they went back from holidays, the Tompsons visited me.

- Jason usually washes his hands before he feeds his baby.

- Sam was sleeping when I  saw him last night.

- Tony'll have slept by the time we arrive home tonight.

- By the time Ann called, I had left the office already.

- I won't talk with Ted again as long as I live.

- While you're traveling in Europe next week, I'll still do my work at home.

Note: ตำแหน่งของ Main-Clause และ Time-Clause สามารถสลับกันได้ค่ะ

โดยถ้าใช้ Time-Clause ขึ้นต้นประโยค ให้ใส่ comma (,) ก่อนขึ้นประโยค Main-Clause 


ถ้าเพื่อน ๆ ที่อ่านเป็นนักเรียน/นักศึกษา แล้วต้องทำข้อสอบเรื่อง Tenses

การจำโครงสร้าง Time-Clauses ได้ จะช่วยให้เพื่อน ๆ ทำข้อสอบได้ง่ายและเร็วขึ้นค่ะ

อย่างน้อย ๆ ก็จะรู้ว่า ถ้าใช้ Time Clauses แบบนี้ จะมาคู่กับ Present, Past หรือ Future

จึงทำให้เราตัดตัวเลือกที่ไม่ถูกต้องออกไปได้ค่ะ  📑


ส่วนผู้อ่านทั่วไป ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ ก็จะช่วยให้ตีความหมายของประโยคได้ชัดเจนขึ้นค่ะ 👍🏻


เป็นยังไงกันบ้างคะ กับเนื้อหาของวันนี้ จุใจกันเลยไหมคะ  😍

หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ และหวังว่าทุกคนจะคอยติดตามตอนต่อ ๆ ไป

สำหรับวันนี้ ขอให้ทุกคนมีวันที่ดีนะคะ แล้วเจอกันใหม่น้าาาาาาาา บ๊ายบาย 💞

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566

Future Perfect Progressive

 สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เราเดินทางมาถึง Tense สุดท้ายกันแล้วนะคะ

นั่นก็คือ Future Perfect Progressive ชื่ออาจจะยาวหน่อย แต่คอนเซ็ปต์การใช้ไม่ยากเลยค่ะ

Tense นี้จะมีการใช้เหมือนกับตระกูล Perfect Progressive เลยค่ะ

เพียงแต่ว่าเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เท่านั้นเองค่ะ

หัวใจสำคัญของ Perfect Progressive จะเป็นการบอกถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

และที่พิเศษกว่านั้นคือ สามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นั้นกำลังเกิดมานานแค่ไหนแล้ว

หรือกำลังเกิดมาตั้งเมื่อไหร่ โดยจะมี since/for ช่วยบอกเวลาค่ะ


ดังนั้นสรุปจากข้างต้นได้เลยค่ะว่า Future Perfect Progressive

ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่จะกำลังเกิดขึ้นในอนาคต และบอกระยะเวลาได้

เมื่อรู้หลักการใช้แล้ว เรามาต่อกันที่เรื่องโครงสร้างประโยคกันดีกว่าค่ะ

เรามาแยกโครงสร้างต่าง ๆ จากชื่อกันก่อนค่ะ

Future (will) + Perfect (have+V3) + Progressive (be+Ving)

แล้วเอามารวมกัน ก็จะได้เป็น S + will + have + been + Ving

Note: Tense นี้มักใช้ร่วมกับ by the time + S + V1(s/es) เพื่อกล่าวถึง

อีกเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย คล้าย ๆ กับ Future Perfect

ซึ่งเป็นบทความก่อนหน้านี้ค่ะ เพื่อน ๆ ลองกลับไปอ่านทบทวนดูได้นะคะ


📚 Affirmative (ประโยคบอกเล่า)

S + will + have + been + Ving

Examples:

I'll have been studying for the exam for 2 hours by the time you finish work.

Tony'll have been swimming for 30 minutes by the time his coach lets him go.


📙 Negative (ประโยคปฏิเสธ)

S + won't + have + been + Ving


📚 Yes/No Question (ประโยคคำถามที่ตอบได้แค่ ใช่ และ ไม่ใช่)

Will + S + have + been + Ving?

- Yes, S + will. / No, S + won't.


📙 Information Question (ประโยคคำถามที่ต้องการข้อมูล)

Wh + will + S + have + been + Ving?

* ใช้โครงสร้างประโยคบอกเล่าในการตอบค่ะ

เพื่อน ๆ อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่เห็นตัวอย่างประโยคปฏิเสธกับประโยคคำถามใช่ไหมคะ

ก็เพราะว่า Tense นี้จะไม่ค่อยถูกใช้ในชีวิตประจำวันนั่นเองค่ะ


เย้! ครบทั้ง 12 Tenses แล้ว ขอบคุณทุกคนที่ตามอ่านจนครบนะคะ

ทุกคนเก่งมาก ๆ ปรบมือดัง ๆ ให้ตัวเองเลยค่ะ 👏 


ไว้ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ... รอติดตามกันนะคะ

รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ ✨


แล้วเจอกันใหม่นะคะ ดูแลสุขภาพกันด้วยค่ะ

วันนี้ไปแล้วน้าาาาาาาาาาาาาาาาา บ๊ายบาย 🌻

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566

Future Perfect

สวัสดีค่ะ วันนี้มาเจอกันเรื่อง Future Perfect ✿
Tense นี้ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและจบลงแล้ว
ก่อนที่จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นมา ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์เป็นเรื่องในอนาคตค่ะ

เรามาลองดูเส้นเวลาให้เห็นภาพกันดีกว่า เพื่อป้องกันความงงค่ะ












จากภาพจะเห็นว่าทั้ง 2 เหตุการณ์จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้หมดเลย
โดยเหตุการณ์แรก คือ กินข้าวเช้า ตอน 9 โมง
จากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ที่สองคือเข้าประชุมตอน 11 โมง
นั่นแสดงว่าเหตุการณ์แรกที่เกิดและจบแล้วต้องใช้ Future Perfect ค่ะ
ส่วนเหตุการ์ที่สองที่เกิดตามหลัง จะอยู่ในโครงสร้าง by the time + S + V1(s/es)
ดังนั้น เราจึงสามารถเขียนประโยคนี้ได้ว่า ... ✍
I'll have eaten breakfast already by the time I attend a meeting tomorrow.
(ฉันจะกินข้าวเช้าเรียบร้อยแล้ว ตอนที่/ก่อนฉันเข้าประชุมในวันพรุ่งนี้)

พอเห็นภาพมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ งั้นเรามาดูโครงสร้างของประโยคต่าง ๆ กันเลย
โดยโครงสร้างจะเป็นการรวมกันของ 2 Tenses ค่ะ 
ก็คือ Future (will) + Perfect (have + V3) 

Affirmative (ประโยคบอกเล่า)
S + will + have + V3
Examples:
Bobby will have grauduated by the time you meet time next month.
By the time she goes to work tomorrow, Jenny'll have dropped her son at school.

Negative (ประโยคปฏิเสธ)
S + won't + have + V3
Examples:
They won't have finished the project by the time it is due.
By the time Sam's flight lands, we won't have arrived at the airport.

*Note: by the time สามารถวางได้สองตำแหน่งค่ะ คือ
1. วางต่อประโยคใจความหลัก Future Perfect โดยไม่ต้องใส่ ,
2. วางหน้าประโยค เมื่อจบ by the time + S + V1(s/es) ต้องใส่ , เสมอ

Yes/No Question (ประโยคที่ตอบได้แค่ ใช่ กับ ไม่ใช่)
Will + S + have + V3?
Examples:
Will you have packed your luggage by the time I pick you up?
- Yes, I will. / No, I won't.
Will Tommy have come back from the camp by the time his grandpa visits?
- Yes, he will. / No, he won't.

Information Question (ประโยคคำถามที่ต้องการข้อมูล)
Wh/How + will + S + have + V3?
* ใช้ประโยคบอกเล่าในการตอบค่ะ
Examples:
How many chapters will you have read by the time the term ends?
- I think I'll have read all the chapters in the book.
What movies on Netflix will you have watched by the time they are expired?
- I'll have watched The Fault in Our Stars and The Notebook for sure.

เป็นยังไงบ้างคะ ไม่ยากเกินความเข้าใจเราเลยใช่ไหม
แม้ว่า Tense นี้ ไม่ได้เห็นบ่อยในภาษาพูดเท่าไหร่ แต่ถ้ารู้ไว้ก็เป็นประโยชน์นะคะ
อย่างน้อยก็ทำให้เราไม่งง เวลาเห็นรูปประโยคแบบนี้
หวังว่าวันนี้เพื่อน ๆ คงได้ความรู้ไม่มากก็น้อยจากบทความนี้นะคะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราอยากใช้ Tenses ต่าง ๆ ได้คล่อง ก็ต้องทำแบบฝึกหัด
หรือทำข้อสอบบ่อย ๆ จะได้ไม่ลืมค่ะ 📚

เดี๋ยวรอบหน้า เรามาเจอกับ Tense สุดท้าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ 
แล้วไว้เจอกันค่ะ วันนี้พลอยไปแล้วน้าาาาาาาาาา บ๊ายบาย  ❤



วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566

Future Progressive

สวัสดีค่ะ ไม่ได้เจอกันนานมาก ๆ เลย ... คิดถึงทุกคนนะคะ (✿◠‿◠) 

วันนี้จะมาเขียนเรื่อง Tenses ที่เหลือกันต่อค่ะ (เขียนมาสองปีแล้วยังไม่จบสักที 555)

Tense ที่จะนำเสนอในวันนี้ก็คือ > Future Progrssive ค่ะ

เราสามารถรู้การใช้งานคร่าว ๆ ได้จากชื่อของตัวมันเลยค่ะ

Future คือ "อนาคต" ส่วน Progressive คือ "ที่ดำเนินต่อเนื่องไป"

ซึ่งใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่ "จะกำลังเกิดขึ้นในอนาคต" นั่นเองค่ะ

✿ ถ้าอย่างนั้น เรามาดูโครงสร้างกันดีกว่าค่ะ 

➤ Affirmative (ประโยคบอกเล่า)

S + will + be + Ving

Examples:

I'll be studying for the exam at 9 tonight, so please don't call me at that time.

My parents'll be sleeping when I get back from the party around midnight tomorrow.


Negative (ประโยคปฏิเสธ)

S + won't + be + Ving

Examples:

They won't be studying at this exact time tomorrow.

Tom won't be attending the meeting at 10 tomorrow morning.


ประโยคคำถามที่ตอบได้แค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ (Yes/No Question)

Will + S + be + Ving?

Examplrs:

Will Lisa be flying to Bangkok at 2 p.m. tomorrow?

- Yes, she will. / No, she won't.

Will we be having a picnic at 3 p.m. this Saturday?

- Yes, we will. / No, we won't.


ประโยคคำถามที่ต้องการข้อมูล (Information Question)

Wh + will + S + be + Ving?

* ให้ใช้โครงสร้างประโยคบอกเล่าในการตอบนะคะ

Examples:

What will Brad be doing around 8:00 this evening?

- He'll be cooking dinner.

What time will you be meeting with your clients next Monday?

- I'll be meeting with them at 1 p.m.

Note: สามารถใช้ be going to แทน will ได้นะคะ 


หลายคนอาจมีความคิดว่า เรื่องโครงสร้าง หรือ Tenses ต่าง ๆ มันเยอะ จำยาก

แต่ถ้าเราอ่านทบทวนบ่อย ๆ หรือสังเกตดี ๆ ก็จะช่วยให้จำง่ายขึ้น

อย่าง Tense นี้นะคะ มีชื่อว่า Future Progressive เพราะฉะนั้น โครงสร้างของประโยค

ก็จะเป็นการเอา Future (will) มารวมกับ Progressive (be + Ving)

เพื่อน ๆ ลองจำโครงสร้างด้วยวิธีนี้ดูก็ได้นะคะ เผื่อทำให้จำง่ายขึ้นค่ะ


วันนี้พลอยไปก่อนนะคะ แล้วเดี๋ยวเรามาเจอกันใหม่ เหลืออีก 2 Tenses 

ก็จะเดินทางจบซีรี่ย์เรื่อง Tenses แล้ว เป็นการเดินทางที่ยาวนานหลายปี 555

ขอบคุณทุกคนที่ยังรออ่านนะคะ รักค่ะ ღ