วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

Simple Past EP.3

สวัสดีค่ะ เราเดินทางมาถึง EP. สุดท้ายของ Simple Past กันแล้วนะคะ
ใน EP.3 นี้ พลอยอยากจะพูดถึงเรื่อง "กฎการเติม -ed" ซึ่งถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราควรรู้

วันนี้จะมาแบบ มาเร็ว เคลมเร็ว ไปเร็ว แล้วกันนะคะ 55555 เริ่ม!!! \\*^o^*//

 กฎการเติม -ed ท้ายคำกริยาที่ไม่ผันรูป :
1. คำกริยาทั่วไป สามารถเติม -ed ได้เลย เช่น
watch - watched, elect - elected, discover - discovered, show - showed 

2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -e สามารถเติม -d ได้เลย เช่น   
die - died, smile - smiled, tie - tied, live - lived, arrive - arrived, look - looked

3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -y และหน้า -y ไม่ใช่สระ ให้เปลี่ยน -y เป็น -i แล้วจึงเติม -ed เช่น
study - studied, cry - cried, fry - fried, try - tried, apply - applied   

4.  คำกริยาหนึ่งพยางค์ ที่ลงท้ายด้วยสระหนึ่งตัว และตัวสะกดหนึ่งตัว 
ให้เพิ่มตัวสะกดเข้าไป แล้วจึงเติม –ed เช่น 
plan - planned, hop - hopped, stop - stopped, pat - patted, fit - fitted

5. คำกริยาสองพยางค์ ที่ลงท้ายด้วยสระหนึ่งตัว, ตัวสะกดหนึ่งตัว และเน้นเสียงที่พยางค์หลัง 
ให้เพิ่มตัวสะกดเข้าไป แล้วจึงเติม -ed เช่น 
admit - admitted, prefer - preferred, transfer - transferred  

นี่แหละค่ะ กฎในการเติม -ed มีเพียง 5 ข้อเท่านั้นเอง ไม่เยอะเลยเนอะ
เมื่ออ่านจบแล้ว ลองหาแบบฝึกหัดทำเพิ่มเติมก็ดีค่ะ จะได้จำได้เร็วขึ้น
และจะได้คุ้นกับคำกริยารูปนี้ .. ฝึกบ่อย ๆ ค่อย ๆ ชิน อิอิ

ส่วน EP. หน้าจะเป็นเรื่องอะไรน้านนนนน
ต้องรอติดตามนะคะ วันนี้ไปแล้วค่ะ ฟิ้ววววววววววววววววววววววว ♡. (^人^)



วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

Simple Past EP.2

เฮลโหลลลลลล กลับมาต่อกันกับ Simple Past EP.2 ค่ะ
EP. นี้จะพูดถึงเรื่องโครงสร้างของประโยคนะคะ ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน

แต่ก่อนอื่น ขอแนะนำตัวย่อที่จะต้องเจอกันก่อนนะคะ
- S. ย่อมาจาก Subject (ประธาน)
- V. ย่อมาจาก Verb (กริยา)
- Vinf ย่อมาจาก Verb Infinitive (กริยารูปพื้นฐานที่ไม่เปลี่ยนรูป)
* หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ V1 ที่ไม่เติม s,es,ing หรือ ed นั่นเอง
- Wh. คือ Question Word ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh
เช่น what, where, when, why, whose, whom, what time เป็นต้น

เมื่อรู้จักตัวย่อแล้ว เราก็มาลุยเรื่องโครงสร้างได้เลยค่ะ

 ประโยคบอกเล่า (Affirmative)

S. + V2

*V2 มี 2 ประเภท คือ
1. เติม -ed (รูปปกติ หรือ Regular Verb)
2. ผันรูป (รูปไม่ปกติ Irregular Verb)

Examples :
I watched Me Before You last night. (เมื่อคืนนี้ ฉันดูหนังเรื่อง Me Before You)
She ran into her old friend yesterday. (เธอพบเพื่อนเก่าโดยบังเอิญเมื่อวานนี้)
They flew to German two weeks ago. (สองสัปดาห์ก่อน พวกเขาบินไปเยอรมัน)

 ประโยคปฏิเสธ (Negative)

S. + didn't + Vinf

Examples :
We didn't finish the project. (พวกเราทำโครงการนี้ไม่เสร็จ)
The Simpsons didn't buy a new house. (ครอบครัวซิมสัน ไม่ได้ซื้อบ้านหลังใหม่)
He didn't get to work on time this morning because he missed the train.
(เมื่อเช้านี้เขาไปทำงานไม่ตรงเวลา เพราะเขาตกรถไฟ)

 ประโยคคำถามที่ตอบได้แค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ (Yes, No Question)

Did + S. + Vinf?

Examples :
Did you meet Joan at the party last night? (คุณได้พบโจแอนที่งานปาร์ตี้เมิื่อคืนนี้ไหม?)
- Yes, I did. / No, I didn't.
Did they study for the final exam?
(พวกเขาได้อ่านหนังสือ เพื่อเตรียมสอบปลายภาคไหม?)
- Yes, they did. / No, they didn't.
Did Sheila stay with you last week? (เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชีล่าได้พักอยู่กับคุณไหม?)
- Yes, she did. / No, she didn't.

 ประโยคคำถามที่ต้องการข้อมูล (Information Question)

Wh. / How + did + S. + Vinf?

* ให้ใช้โครงสร้างประโยคบอกเล่าตอบนะคะ

Examples :
What time did you get up this morning? (เมื่อเช้านี้ คุณตื่นนอนกี่โมง?)
- I got up at 7:30. (ฉันตื่นเจ็ดโมงครึ่ง)
Where did Jamie go last night? (เมื่อคืนนี้เจมี่ไปไหน?)
- He went to Joseph's place. (เขาไปบ้านโจเซฟ)
What did Tommy buy his mom on her birthday?
(ทอมมี่ซื้ออะไรเป็นของขวัญวันเกิดให้แม่ของเขา?)
- He bought a pearl necklace. (เขาซื่อสร้อยไข่มุก)

มาถึงตรงนี้ เราก็ทราบโครงสร้างครบทั้ง 4 ประโยคแล้วนะคะ
สังเกตกันมั้ยคะ ว่ากริยาช่องที่ 2 มีสองแบบ แบบที่ผันรูปและเติม -ed
แบบที่ผันรูปนั้น เราสามารถท่องจำเอาได้ค่ะ เพราะมีตารางกริยา 3 ช่องตาม Internet
หรือตามแบบเรียนต่าง ๆ ไว้ให้เราแล้ว แต่แบบที่เติม -ed เราต้องรู้จักกฎการเติม -ed ค่ะ
ดังนั้นใน EP.3 พลอยจะเขียนเรื่อง กฎการเติม -ed นะคะ ไว้รออ่านกันค่ะ

วันนี้เนื้อหาก็พอสมควรแล้ว ไปก่อนดีกว่าเนอะ เจอกันใหม่ครั้งหน้าค่าาาาาาา ↖(^ω^)↗ ♡.

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

Simple Past EP.1

สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบกันกับ Simple Past หรือจะเรียกว่า Past Simple ก็ได้ เอาที่สะดวก อิอิ
พลอยคิดว่า Tense นี้เป็น Tense ที่ง่ายที่สุด เพราะอะไรน่ะเหรอ (^__^)..?
ก็เพราะว่าเราสามารถใช้กริยาช่องที่ 2 ตัวเดียวกัน ได้กับประธานทุกตัว
โดยไม่ต้องแยกประธานเลยว่าตัวไหนเป็นเอกพจน์ ตัวไหนเป็นพหูพจน์
เพียงแค่จำหลักโครงสร้างของ Tense นี้ให้ได้ แล้วทุกอย่างจะง่ายเองค่ะ

ก่อนจะเข้าเรื่องโครงสร้าง .. แน่นอนว่าเราต้องรู้ Key Words และ Time Words ก่อนค่ะ
 Key Words :
1. Completed Action (การกระทำที่เสร็จสมบูรณ์)
2. Specified Time (เจาะจงเวลา)
3. Past Habits (นิสัยในอดีต)
* ข้อ 3 นี้คือการใช้ used to นั่นเองค่ะ พลอยเคยเขียนไว้แล้ว
และเผื่อใครที่ยังไม่เคยอ่าน ลองเสิร์ชหาดูในคลังบทความ ด้านขวามือนะคะ
ถ้าประโยคที่เราต้องการจะสื่อ เข้าข่ายหนึ่งในสามข้อที่กล่าวมา ให้ใช้ Tense นี้ได้เลยค่ะ

นอกจากจะรู้ Key Words แล้ว เราควรรู้ Time Words ด้วยค่ะ
เพราะ Time Words เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราทำข้อสอบได้เร็วขึ้น
มาดูกันเลยค่ะ ว่า Time Words ที่เห็นบ่อย ๆ จะมีคำไหนบ้าง

 Time Words ที่พบได้บ่อยใน Simple Past :
yesterday (เมื่อวานนี้), last (ที่แล้ว), ago (ที่ผ่านมา), in + เวลาหรือปีที่ผ่านมาแล้ว,
the first time (ครั้งแรก), the last time (ครั้งสุดท้าย) etc.

เมื่อรู้ทั้ง Key Words และ Time Words แล้ว เราก็จะสามารถแยกประโยคได้
ว่าประโยคนั้นควรใช้ Simple Past Tense หรือไม่ 
ลองวิเคราะห์กันดูกันนะคะ .. เฉลยอยู่ข้างล่างค่ะ (อย่าเพิ่งแอบดูน้าาาา)

1. ทิมชอบไปสวนสัตว์ในวันหยุดสุดสัปดาห์
2. เมื่อวานนี้พวกเขากินส้มตำเป็นอาหารเย็น
3. สุชาติส่งจดหมายหาแฟนของเขาเมื่อสองวันที่ผ่านมา
4. เด็ก ๆ กำลังทำข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
5. เมื่อปีที่แล้ว พวกเราไปปารีสเพื่อฉลองวันครบรอบแต่งาน
6. ตอนเด็ก ๆ จิมมี่ชอบดูการ์ตูน แต่ตอนนี้เขาไม่ดูแล้ว
7. แซนดี้สอนหนังสือที่โรงเรียนนี้มาสามปีแล้ว
8. ซูซานเคยอาศัยอยู่ในกรุงเทพเมื่อปี 2000
9. สก็อตอยากไปเล่นสกีสักครั้ง
10. คิมร้องเพลงในงานโรงเรียนเมื่อคืนนี้

★ ☆ ✰✩✫✬✭✮✯✰✱✲✳❃❂❁❀✿✾✽✼✻✺✹✸✷✪✣✤✥✦✧✡ ★ 

1. ทิมชอบไปสวนสัตว์ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ✖ ... เป็นเรื่องจริง ต้องใช้ Simple Present
2. เมื่อวานนี้พวกเขากินส้มตำเป็นอาหารเย็น  ... มี Time Word (เมื่อวานนี้) 
3. สุชาติส่งจดหมายหาแฟนของเขาเมื่อสองวันที่ผ่านมา  ... มี Time Word (ที่ผ่านมา)
4. เด็ก ๆ กำลังทำข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ✖ ... กำลังเกิดขึ้น ต้องใช้ Present Progressive
5. เมื่อปีที่แล้ว พวกเราไปปารีสเพื่อฉลองวันครบรอบแต่งาน  ... มี Time Word (ที่แล้ว) 
6. ตอนเด็ก ๆ จิมมี่ชอบดูการ์ตูน แต่ตอนนี้เขาไม่ดูแล้ว  ... เป็นนิสัยในอดีต 
7. แซนดี้สอนหนังสือที่โรงเรียนนี้มาสามปีแล้ว ✖ ... เหตุการณ์ยังไม่จบ ตอนนี้เธอก็ยังสอนอยู่
8. ซูซานเคยอาศัยอยู่ในกรุงเทพเมื่อปี 2000  ... มี Time Word (ปี 2000)
9. สก็อตอยากไปเล่นสกีสักครั้ง ✖ ... เป็นเรื่องจริง ต้องใช้ Simple Present
10. คิมร้องเพลงในงานโรงเรียนเมื่อคืนนี้  ... มี Time Word (เมื่อคืนนี้)

เมื่อเราวิเคราะห์ประโยคได้แล้ว เราก็ต้องมาศึกษาเรื่องโครงสร้างของประโยค
แต่วันนี้เนื้อหาก็เยอะพอสมควรแล้ว ไว้เราค่อยมาต่อใน EP.2 กันดีกว่าค่ะ
วันนี้ไปแล้วค่ะ เจอกันใหม่ครั้งหน้านะคะ บ๊ายบายยยยยยยยยยย ♡. (^_^) ♡.

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

Non-Action Verb EP.3

สวัสดีค่าาาาา วันนี้มาต่อกับอีก 5 คำที่เหลือ ของ Non-Action Verb ที่เติม -ing ได้กันค่ะ
ไม่พูดพร่ำทำเพลง เรามาเริ่มกันเล้ยยยยยย └(^o^)┘

 see
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "เห็น" เช่น
"Do you see that woman?" (คุณเห็นผู้หญิงคนนั้นไหม?)
John didn't see anyone in the meeting room yesterday.
(จอห์นไม่เห็นใครที่ห้องประชุมเลยเมื่อวานนี้)
- เป็น Action Verb แปลว่า "พบ" เช่น
The doctor is seeing a patient right now. (ตอนนี้คุณหมอกำลังพบคนไข้อยู่)

 taste
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "มีรสชาติ" เช่น
Sugar tastes sweet. (น้ำตาลมีรสหวาน)
This coffee tastes very bitter. (กาแฟแก้วนี้มีรสขมมาก)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ชิม" เช่น
Susie is tasting her chicken soup. (ซูซี่กำลังชิมซุปไก่ของเธอ)

 smell
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "มีกลิิ่น, ส่งกลิ่น" เช่น
Your perfume smells like a flower. (กลิ่นน้ำหอมของคุณ เหมือนกลิ่นดอกไม้เลย)
The garbage in the kitchen smells very bad. (ขยะในห้องครัวมีกลิ่นเหม็นมาก)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ดม" เช่น
June is smelling a rose. (เจนกำลังดมดอกกุหลาบ)
Bob is smelling some food on the table. (บ็อบกำลังดมกลิ่นอาหารที่อยู่บนโต๊ะ)

 love
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "รัก" เช่น
Your parents love you very much. (พ่อแม่ของคุณ รักคุณมาก)
Sam loves his dog and cat. (แซมรักสุนัขและแมวของเขา)
- เป็น Action Verb แปลว่า "หลงรัก" เช่น
Mr. and Mrs.Johnson are enjoying parenthood. In fact, they are loving it.
(คุณและคุณนายจอห์นสันกำลังสนุกกับการเป็นพ่อแม่คน จริง ๆ แล้ว พวกเขาหลงรักมันเลยล่ะ)

 be
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "เป็น, อยู่, คือ" เช่น
Yaya is beautiful. (ญาญ่าสวย)
They are at the library. (พวกเขาอยู่ที่ห้องสมุด)
- เป็น Action Verb แปลว่า "กลายเป็น, ทำเป็น" เช่น
Jim is ill, but he won't go to the hospital. He is being foolish.
(จิมป่วย แต่เขาไม่ยอมไปหาหมอ เขากำลังทำตัวงี่เง่า)
Jeff is being rude. He is talking on the phone while the teacher is teaching.
(เจฟกำลังทำตัวหยาบคาย เขาคุยโทรศัพท์ขณะที่คุณครูกำลังสอนอยู่)
* การใช้ be ที่เติม -ing มักใช้ในโครงสร้าง S. + is, am, are + being + adj.
ใช้เพื่อกล่าวถึงนิสัยที่เพิ่งมาเป็นในช่วงขณะนั้น จากตัวอย่างด้านบน
จริง ๆ จิมไม่ได้เป็นคนงี่เง่า แต่เขาเริ่มทำตัวงี่เง่าตอนป่วย
ส่วนเจฟก็ไม่ใช่คนหยาบคาย แต่เขาเริ่มทำตัวหยาบคายในคาบเรียนนี้

เย่!! ในที่สุดก็ครบ 10 คำแล้ว อิอิ
ลองเอาไปฝึกแต่งประโยคเล่น ๆ กันดูค่ะ จะได้ไม่ลืม

ส่วนครั้งหน้าที่เราเจอกัน จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ไว้คอยติดตามด้วยนะคะ
วันนี้พลอยไปแล้วค่ะ บ๊ายบายยยยยยยยยยยยยยยย ˋ( ° ▽、° )♡.



วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

Non-Action Verb EP.2

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันต่อกับเรื่อง Non-Action Verb ที่สามารถเติม -ing ได้
มาดูกันเลยดีกว่า ว่ามีคำไหนที่เราเห็นบ่อย ๆ กันบ้าง

 look
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "ดูเหมือน" เช่น
It looks like rain. (ดูเหมือนฝนจะตกนะ)
Mountains look beautiful. (ภูเขาดูสวยดีนะ)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ดู, มอง" เช่น
James is looking at his car. (เจมส์กำลังมองรถของเขาอยู่)
The students are looking out the window. (นักเรียนกำลังมองออกไปนอกหน้าต่าง)

 appear
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "ดูเหมือน" เช่น
Sandra appears to be happy today. (ดูเหมือนว่าวันนี้แซนดร้าจะมีความสุขนะ)
The workers appeared to be tired yesterday. (ดูเหมือนคนงานเหนื่อย ๆ นะเมื่อวานนี้)
- เป็น Action Verb แปลว่า "ปรากฎตัว, แสดงตัว" เช่น
Jason is appearing in the news today. (เจสันปรากฏตัว(อยู่)ในข่าววันนี้)

 think
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "คิดว่า" (เป็นความคิด, ความเชื่อส่วนตัว) เช่น
I think that English is important. (ฉันคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญ)
Jane thinks that her brother has a problem. (เจนคิดว่าน้องชายของเธอมีปัญหา)
- เป็น Action Verb แปลว่า "คิด" เช่น
Tim is thinking about his vacation. (ทิมกำลังคิดเรื่องวันหยุดพักร้อนของเขา)
* ลองสังเกตดูนะคะ
ถ้า think ที่เป็น Non-Action Verb จะตามด้วย (that) S.+V.
ส่วน think ที่เป็น Action Verb มักตามด้วยคำนาม

 feel
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "รู้สึกว่า" (ความรู้สึก, ความคิดส่วนตัว) เช่น
I feel that Amy is a good actress. (ฉันรู้สึกว่าเอมี่เป็นนักแสดงที่ดีเลยนะ)
* ข้างหลัง feel จะตามด้วย (that) S. + V.
- เป็น Action Verb แปลว่า "รู้สึก" (ส่วนมากเป็นทางกายภาพ) เช่น
I'm not feeling well right now. (ตอนนี้ฉันรู้สึกไม่ค่อยดีเลย)
Rose is feeling a little tired. (ตอนนี้โรสรู้สึกเหนื่อยนิดหน่อย)

 have
- เป็น Non-Action Verb แปลว่า "มี" (แสดงความเป็นเจ้าของ) เช่น
They have a big house. (พวกเขามีบ้านหลังใหญ่)
He has a lot of sports cars. (เขามีรถสปอร์ตหลายคัน)
- เป็น Action Verb แปลว่า "มี, กิน" เช่น
They are having spaghetti right now. (ตอนนี้พวกเขากำลังกินสปาเก็ตตี้)
The children are having a good time. (เด็ก ๆ กำลังสนุก หรือ เด็ก ๆ กำลังมีช่วงเวลาที่ดี)
* have ที่แปลว่า "มี" ในตัวอย่างนี้ ไม่ได้แสดงถึงความเป็นเจ้าของ
เพราะเป็นการมีช่วงเวลาที่ดี เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

เราพอจะทราบความแตกต่างกันบ้างแล้วเนอะ
งั้นเวลาใช้งาน ก็ลองเลือกใช้รูปของคำกริยาที่เหมาะกับความหมายที่เราอยากจะสื่อออกไป
ฝึกบ่อย ๆ เดี๋ยวเราก็จะชิน และใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้นค่ะ

ตอนแรกก็ว่าจะเขียนให้ครบทั้ง 10 คำ
แต่ไม่คิดว่าเขียนไปเขียนมาจะยาวขนาดนี้ 555
งั้นพลอยขออนุญาตแบ่งอีก 5 คำที่เหลือ ไปเขียนไว้ใน EP.3 นะคะ
รอติดตามกันด้วยน้าาาาาาาาาา วันนี้ไปแล้วค่ะ บ๊ายบาย ❤‧:❉:‧ .。.:*・❀●•♪.。









วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

Non-Action Verb EP.1

สวัสดีค่ะ วันนี้ขอคั่น Tense ด้วยเรื่อง Non-Action Verb ก่อนนะคะ
เพราะเรื่องนี้ก็มีความสำคัญ ในการเลือกใช้ Tense มากเหมือนกันค่ะ

เรามาทำความรู้จักกับ Non-Action Verb (กริยาที่ไม่แสดงการกระทำ) กันดีกว่าค่ะ
จริง ๆ แล้ว Non-Action Verb มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Stative Verb
เป็นคำกริยาที่ไม่ใช้ในรูป Progressive Tenses  คือ จะไม่เติม -ing แม้จะกำลังเกิดขึ้นก็ตาม
เพราะคำกริยาประเภทนี้ ไม่สามารถแสดงออกมาเป็นการกระทำได้ เราต้องบอกให้คนอื่นรู้
ส่วนมากมักเป็นคำกริยาที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ความชอบ ของตัวผู้พูดเอง

อ้าวววว แล้วถ้าเติม -ing ไม่ได้ ต้องใช้ Tense ไหนล่ะ?  
ก็ใช้ Tense ใดก็ได้ ที่ไม่ใช่ Progressive Tenses (ตระกูล -ing)
ส่วนมากใช้ Simple Present (ปัจจุบัน), Simple Past (อดีต) 

อาจจะฟังแล้วงง ๆ ลองมาดูตัวอย่างประกอบกันค่ะ

 Examples : 
1. read (v.) = อ่าน 
* กริยา "อ่าน" สามารถแสดงออกเป็นการกระทำได้ 
เช่น เพื่อนเดินมาเห็นเรากำลังอ่านหนังสือ เขาก็รู้ว่าเราทำอะไร โดยที่เราไม่ต้องบอก
แสดงว่า read เป็น Action Verb (กริยาแสดงการกระทำ) สามารถเติม -ing ได้
- I'm reading a magazine.

2. want (v.) = ต้องการ
* กริยา "ต้องการ" ไม่สามารถแสดงออกเป็นการกระทำได้
เช่น ตอนนี้เพื่อนสาวต้องการความช่วยเหลือจากเรา แต่เพื่อนไม่ได้บอกเรา
ถามว่าเราจะรู้มั้ยว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราก็ไม่รู้ ถ้าเขาไม่บอก ถูกมั้ยคะ
เพราะฉะนั้น want จึงเป็น Non-Action Verb (กริยาที่ไม่แสดงการกระทำ)
เวลาแต่งประโยค ก็เลือกใช้โครงสร้างที่ไม่ใช่ Progressive Tenses 
- She needs your help. 

 พอเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นมั้ยคะ คราวนี้เรามาดู Non-Action Verb ที่พบได้บ่อย ๆ กันค่ะ
know (รู้, รู้จัก)                                                
like (ชอบ)
believe (เชื่อ)                                               
appreciate (ตระหนัก, ซาบซึ้ง)
doubt (สงสัย)                                             
care about (ชอบมาก, สนใจ)
recognize (รู้จัก, จำได้)                               
please (ทำให้พอใจ)
remember (จำได้)                                       
prefer (ชอบมากกว่า)
suppose (ทึกทักเอา, คาดเดา)                     
dislike (ไม่ชอบ)
understand (เข้าใจ)                                     
fear (กลัว)
hate (เกลียด)                                               
mind (ถือสา)
belong (เป็นของ)                                       
possess (ครอบครอง)
own (เป็นเจ้าของ)                                     
desire (ปรารถนา, ต้องการ)
need (ต้องการ, จำเป็นต้อง)                       
want (ต้องการ)
wish (ปรารถนา, ต้องการ)                         
consist of (ประกอบด้วย)
contain (ประกอบด้วย)                               
exist (ดำรงอยู่, มีอยู่จริง)
matter (ถือเป็นเรื่องสำคัญ)                       
hear (ได้ยิน)
sound (ฟังดู, มีเสียง)                                 
seem (ดูเหมือน)
look like (ดูเหมือน)                                   
resemble (คล้ายคลึง)
agree (เห็นด้วย)                                       
disagree (ไม่เห็นด้วย)
mean (ตั้งใจ, หมายความว่า)                     
promise (ให้สัญญา)
amaze, surprise (ทำให้ประหลาดใจ) 
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะมี Non-Action Verb บางตัวที่สามารถเติม -ing ได้
แต่ความหมายจะเปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ

ฮั่นแน่! อยากรู้ใช่มั้ยคะว่ามีคำไหนบ้าง ไว้พลอยจะบอกใน EP.2 นะคะ อิอิ
วันนี้ไปก่อนดีกว่า รู้สึกว่าจะเขียนยาวเกินไปแล้ว เดี๋ยวคนอ่านจะเบื่อเอา
ไปแล้วค่าาาาา บ๊ายบาย ↖(^ω^)↗ ♡.