เพราะเรื่องนี้ก็มีความสำคัญ ในการเลือกใช้ Tense มากเหมือนกันค่ะ
เรามาทำความรู้จักกับ Non-Action Verb (กริยาที่ไม่แสดงการกระทำ) กันดีกว่าค่ะ
จริง ๆ แล้ว Non-Action Verb มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Stative Verb
เป็นคำกริยาที่ไม่ใช้ในรูป Progressive Tenses คือ จะไม่เติม -ing แม้จะกำลังเกิดขึ้นก็ตาม
เพราะคำกริยาประเภทนี้ ไม่สามารถแสดงออกมาเป็นการกระทำได้ เราต้องบอกให้คนอื่นรู้
ส่วนมากมักเป็นคำกริยาที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ความชอบ ของตัวผู้พูดเอง
อ้าวววว แล้วถ้าเติม -ing ไม่ได้ ต้องใช้ Tense ไหนล่ะ?
ก็ใช้ Tense ใดก็ได้ ที่ไม่ใช่ Progressive Tenses (ตระกูล -ing)
ส่วนมากใช้ Simple Present (ปัจจุบัน), Simple Past (อดีต)
อาจจะฟังแล้วงง ๆ ลองมาดูตัวอย่างประกอบกันค่ะ
◆ Examples :
1. read (v.) = อ่าน
* กริยา "อ่าน" สามารถแสดงออกเป็นการกระทำได้
เช่น เพื่อนเดินมาเห็นเรากำลังอ่านหนังสือ เขาก็รู้ว่าเราทำอะไร โดยที่เราไม่ต้องบอก
แสดงว่า read เป็น Action Verb (กริยาแสดงการกระทำ) สามารถเติม -ing ได้
- I'm reading a magazine.
2. want (v.) = ต้องการ
* กริยา "ต้องการ" ไม่สามารถแสดงออกเป็นการกระทำได้
เช่น ตอนนี้เพื่อนสาวต้องการความช่วยเหลือจากเรา แต่เพื่อนไม่ได้บอกเรา
ถามว่าเราจะรู้มั้ยว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราก็ไม่รู้ ถ้าเขาไม่บอก ถูกมั้ยคะ
เพราะฉะนั้น want จึงเป็น Non-Action Verb (กริยาที่ไม่แสดงการกระทำ)
เวลาแต่งประโยค ก็เลือกใช้โครงสร้างที่ไม่ใช่ Progressive Tenses
- She needs your help.
◆ พอเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นมั้ยคะ คราวนี้เรามาดู Non-Action Verb ที่พบได้บ่อย ๆ กันค่ะ
know (รู้, รู้จัก)
like (ชอบ)
believe (เชื่อ)
appreciate (ตระหนัก, ซาบซึ้ง)
appreciate (ตระหนัก, ซาบซึ้ง)
doubt (สงสัย)
care about (ชอบมาก, สนใจ)
care about (ชอบมาก, สนใจ)
recognize (รู้จัก, จำได้)
please (ทำให้พอใจ)
please (ทำให้พอใจ)
remember (จำได้)
prefer (ชอบมากกว่า)
prefer (ชอบมากกว่า)
suppose (ทึกทักเอา, คาดเดา)
dislike (ไม่ชอบ)
dislike (ไม่ชอบ)
understand (เข้าใจ)
fear (กลัว)
fear (กลัว)
hate (เกลียด)
mind (ถือสา)
mind (ถือสา)
belong (เป็นของ)
possess (ครอบครอง)
possess (ครอบครอง)
own (เป็นเจ้าของ)
desire (ปรารถนา, ต้องการ)
desire (ปรารถนา, ต้องการ)
need (ต้องการ, จำเป็นต้อง)
want (ต้องการ)
want (ต้องการ)
wish (ปรารถนา, ต้องการ)
consist of (ประกอบด้วย)
consist of (ประกอบด้วย)
contain (ประกอบด้วย)
exist (ดำรงอยู่, มีอยู่จริง)
exist (ดำรงอยู่, มีอยู่จริง)
matter (ถือเป็นเรื่องสำคัญ)
hear (ได้ยิน)
hear (ได้ยิน)
sound (ฟังดู, มีเสียง)
seem (ดูเหมือน)
seem (ดูเหมือน)
look like (ดูเหมือน)
resemble (คล้ายคลึง)
resemble (คล้ายคลึง)
agree (เห็นด้วย)
disagree (ไม่เห็นด้วย)
disagree (ไม่เห็นด้วย)
mean (ตั้งใจ, หมายความว่า)
promise (ให้สัญญา)
amaze, surprise (ทำให้ประหลาดใจ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะมี Non-Action Verb บางตัวที่สามารถเติม -ing ได้
แต่ความหมายจะเปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ
ฮั่นแน่! อยากรู้ใช่มั้ยคะว่ามีคำไหนบ้าง ไว้พลอยจะบอกใน EP.2 นะคะ อิอิ
วันนี้ไปก่อนดีกว่า รู้สึกว่าจะเขียนยาวเกินไปแล้ว เดี๋ยวคนอ่านจะเบื่อเอา
ไปแล้วค่าาาาา บ๊ายบาย ↖(^ω^)↗ ♡.
promise (ให้สัญญา)
amaze, surprise (ทำให้ประหลาดใจ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะมี Non-Action Verb บางตัวที่สามารถเติม -ing ได้
แต่ความหมายจะเปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ
ฮั่นแน่! อยากรู้ใช่มั้ยคะว่ามีคำไหนบ้าง ไว้พลอยจะบอกใน EP.2 นะคะ อิอิ
วันนี้ไปก่อนดีกว่า รู้สึกว่าจะเขียนยาวเกินไปแล้ว เดี๋ยวคนอ่านจะเบื่อเอา
ไปแล้วค่าาาาา บ๊ายบาย ↖(^ω^)↗ ♡.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น